คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว (/showthread.php?tid=1579)



การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว - doa - 08-03-2016

การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และธารทิพย ภาสบุตร

         การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (รา Paecilomyces lilacinus) และศัตรูธรรมชาติใน Order rhabditida (Steinernema siamkayai และ Mononchus sp.) ควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สาเหตุของโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว ทำการทดสอบในสภาพไร่ที่ปลูกในบล็อกวงซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. ในสภาพดินปลูกเป็น infested soil ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนลำปาง จ.ลำปาง โดยนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติ รองก้นหลุมก่อนปลูกกระเจี๊ยบเขียว และใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติอีก 2 ครั้ง เมื่อพริกอายุ 45 และ 60 วัน ทำการวัดดัชนีการเกิดปมที่ระบบราก ผลการทดสอบพบว่า การใช้รา P. lilacinus ที่อัตรา 10 และ 50 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สามารถลดการเกิดปมได้ 50 - 75 % ของระบบรากและการใช้ S. siamkayai ที่อัตรา 5 ล้านตัวต่อต้น ลดการเกิดปมได้ 25-50 % ของระบบราก ส่วนไส้เดือนฝอย Mononchus sp. ในอัตรา 500 ตัวต่อต้น ไม่สามารถลดการเกิดปมได้เมื่อเปรียบเทียบกับ inoculated control