คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศชิลี - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศชิลี (/showthread.php?tid=1604)



การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศชิลี - doa - 08-04-2016

การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศชิลี
ชลธิชา รักใคร่, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, นงพร มาอยู่ดี, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด และอลงกต โพธิ์ดี
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ประเทศชิลีเป็นแหล่งผลิตองุ่นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอิตาลีซึ่งมีผลผลิตในปีดังกล่าวปริมาณ 860,000 ตัน องุ่นที่ผลิตในชิลีมีทั้งหมด 35 สายพันธุ์ ผลผลิตทั้งหมดเป็นองุ่นไร้เมล็ดคิดเป็น 36.7% ขององุ่นไร้เมล็ดทั่วโลก ผลการสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชจากเอกสารวิชาการและจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชพบว่า มีศัตรูพืชรวมทั้งสิ้นจำนวน 371 ชนิด เป็นแมลง 176 ชนิด ไร 10 ชนิด ไวรัส 33 ชนิด ไวรอยด์ 6 ชนิด แบคทีเรีย 4 ชนิด เชื้อรา 60 ชนิด ไส้เดือนฝอย 14 ชนิด ไฟโตพลาสมา 2 ชนิด และวัชพืช 66 ชนิด ผลการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับมาตรการในการควบคุมการนำเข้าใหม่ กรณีที่เป็นแมลงศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูงกำหนดให้รมยาด้วย Methyl bromide ที่ประเทศต้นทางก่อนการส่งออก หรือจะรมเมื่อสินค้ามาถึงประเทศปลายทางก่อนการนำเข้าก็ได้ กรณีเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิดนั้น เช่น โรค Pierce’s disease ที่เกิดจากเชื้อ Xylella fastidiosa ผลการประเมินความเสียงจะออกมาในระดับต่ำเพราะไม่ติดมากับผลสดที่นำเข้า และพบว่าโรคนี้อยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้น องุ่นที่จะส่งออกมาประเทศไทยต้องเก็บรักษาที่โรงงานบรรจุเอาไว้ก่อนการส่งออก 1 - 2 วัน ที่อุณหภูมิ 1 - 3 องศาเซลเซียส และสำหรับวัชพืชทีมีรายงานการแพร่ระบาดในแปลงผลิตให้มีการจัดการในแปลงผลิตและให้มีการตรวจสอบก่อนการส่งออกทั้งนี้ในการนำเข้าผลสดต้องไม่มีกิ่งก้านและใบติดเข้ามาด้วย เมื่อสินค้าทั้งหมดมาถึงประเทศไทยจะตรวจสอบเอกสารนำเข้าก่อนและจะสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบศัตรูพืชหากไม่พบจึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้