คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การบริหารศัตรูส้มเขียวหวานแบบผสมผสาน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การบริหารศัตรูส้มเขียวหวานแบบผสมผสาน (/showthread.php?tid=1688)



การบริหารศัตรูส้มเขียวหวานแบบผสมผสาน - doa - 08-05-2016

การบริหารศัตรูส้มเขียวหวานแบบผสมผสาน
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, 
ทวี แสงทอง, เทวินทร์ กุลปิยวัฒน์, ธารทิพย ภาสบุตร, 
บุษบง มนัสมั่นคง, วิภาวรรณ ดวนมีสุข และดารุณี ปุญญพิทักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิตศรีสำโรง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

          การบริหารศัตรูส้มเขียวหวานแบบผสมผสาน ดำเนินการที่แปลงส้มเขียวหวานของเกษตรกร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2551 – พฤษภาคม 2552 ในพื้นที่ 4 ไร่ โดยแบ่งแปลงเป็น 2 ส่วนๆ ละ 2 ไร่ แปลงที่ 1 เป็นแปลงวิธีผสมผสาน และแปลงที่ 2 เป็นแปลงวิธีเกษตรกร โดยแปลงวิธีผสมผสาน มีการสำรวจแมลงศัตรูพืชทุกๆ 1 - 2 สัปดาห์ตามการเจริญเติบโตของส้มเขียวหวานและป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ เมื่อพบว่าปริมาณศัตรูพืชแต่ละชนิดสูงเกินระดับ ET และมีการตรวจสอบการเกิดโรคกรีนนิ่ง ทริสติซ่า รากเน่าโคนเน่า ในช่วงที่มีการแตกใบอ่อน สำหรับการป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการตัดในช่วงที่การตัดแต่งกิ่ง ผสมผสานกับการใช้สารกำจัดวัชพืช ส่วนแปลงวิธีเกษตรกร เกษตรกรจะดูแลรักษาเอง จากการดำเนินงานทั้ง 2 ปีงบประมาณ พบปัญหาอุปสรรคในเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอ ความผิดพลาดในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ความไม่เชื่อมั่นต่อการดำเนินงานวิจัยของเกษตรกร จึงไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไขในการดำเนินงาน เนื่องจากส้มเขียวหวานเป็นพืชที่มีอายุการผลิตยาวนานถึง 10 - 12 เดือน นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่ต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง มีศัตรูทั้งแมลง โรคพืช และวัชพืชลงทำลายหลายชนิดตลอดระยะเวลาการผลิต ในทดสอบการบริหารจัดการศัตรูพืชจึงเป็นเรื่องซับซ้อน ผู้ดำเนินการต้องทำความเข้าใจในลักษณะพื้นฐานตลอดจนการป้องกันกำจัดของศัตรูพืชแต่ละชนิดอย่างถ่องแท้ ดังนั้น ในการดำเนินงานวิจัยควรเพิ่มงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อให้มีการเก็บข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง ต้องมีการประสานงานและเข้าถึงเกษตรกรเจ้าของแปลงเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเชื่อมั่นในการดำเนินงาน