ศึกษาการผลิตลิ้นจี่
#1
ศึกษาการผลิตลิ้นจี่
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, มนตรี ทศานนท์ และศศิธร วรปิติรังสี

          การทดสอบและประยุกต์เทคโนโลยีชักนำให้ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยเก็บเกี่ยวผลได้เร็วดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย และสวนเกษตรกร อ.แม่ใจ จ.พะเยา ระหว่างปี 2549 - 2551 พบว่า การควั่นกิ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-15 ซฒ. ในช่วงดอกบานแบบ spiral cincturing จำนวน 2 รอบ มีแนวโน้มทำให้ติดผลมากขึ้นแต่ไม่สามารถเร่งให้ผลสุกหรือเก็บเกี่ยวผลได้เร็วขึ้น ไม่มีผลต่อสีเปลือก และคุณภาพผล การพ่นช่อผลบนต้นก่อนที่ผลเปลี่ยนสีประมาณ 1 สัปดาห์ ด้วยสารเอเทรล 100 และ 200 ppm รวมทั้งการห่อช่อผลด้วยถุงกระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงกระดาษสีน้ำตาล และถุงพลาสติกขุ่นไม่สามารถเร่งให้ผลสุกหรือเก็บเกี่ยวผลได้เร็วขึ้น แต่สีเปลือกผลมีค่าสีแดง (a*)แตกต่างกัน การห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่นทำให้ผลมีสีสวยเป็นที่ต้องการของตลาด การราดสารโพแทสเซียมคลอเรตอัตรา 50 100 200 และ 300 ก./เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 ม. หรือการราดสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์อัตรา 500 1000 1500 ซีซี/นำ 40 ลิตร/ต้น หรือการราดสารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 5 10 และ 15 ก./เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 ม. แล้วพ่นสารไทโอยูเรียอัตรา 50 ก./น้ำ 20 ลิตร หลังราดสาร 45 วันหรือการควั่นกิ่ง และราดสารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 10 และ 20 ก./เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 ม. แล้วพ่นสารไทโอยูเรียอัตรา 50 ก./น้ำ 20 ลิตร หลังราดสาร 45 วัน หรือการราดสารพาโคลบิวทราโซ,อัตรา 100 ก./เส้นผ่าศูนย์กลางทรุงพุ่ม 1 ม. แล้วราดสารโพแทสเซียมคลอเรตอัตรา 50 และ 100 ก./เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 ม. หรือการราดสารพาโคลบิวทราโซลผสมสารโพแทสเซียมคลอเรตอัตรา 350+150 และ 700+300 ก./ต้น ทุกกรรมวิธีไม่สามารถชักนำให้ลิ้นจี่ฮงฮวยออกได้


ไฟล์แนบ
.pdf   1104_2551.pdf (ขนาด: 945.07 KB / ดาวน์โหลด: 2,048)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม