การป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลม็อคคาร่าโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และสารเคม
#1
การป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลม็อคคาร่าโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และสารเคมี
ทัศนาพร ทัศคร, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้ลูกผสมมอคคาร่า พันธุ์ Pink lady 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธีคือ cuprous oxide 50%WP, bacbicure 25% และ gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80% และ copper hydroxide 77% เปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า โดยพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อเริ่มพบโรค จำนวน 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ได้ดีคือ สาร cuprous oxide 50%WP รองลงมาได้แก่ gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80%WP และ copper hydroxide 77%WP พบมีเปอร์เซ็นต์ช่อดอกที่เป็นโรคน้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า จากนั้นได้ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้ลูกผสม พันธุ์ส้มบางขุนเทียน ในสภาพแปลงทดลอง อ.สามพราน จ.นครปฐม วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธีคือ สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ได้ทดสอบในปี 2555 โดยพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อเริ่มพบโรค จำนวน 3 ครั้ง ทุก 7 วัน ประเมินโรคหลังการพ่นสารพบว่า สารที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ดีคือ สาร gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP มีช่อดอกที่เป็นโรคน้อยสุด เท่ากับ 6.97 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ สาร copper hydroxide 77%WP มีช่อดอกที่เป็นโรคเท่ากับ 9.41 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าพบช่อดอกที่เป็นโรค 19.51 เปอร์เซ็นต์ ในการทดสอบประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สุกลมอคคาร่า พันธุ์ส้มบางขุนเทียน ที่แปลงเกษตรกร อ. สามพราน จ. นครปฐมทำการเริ่มพ่นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ เมื่อพบอาการของโรคที่ช่อดอก โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 13 กรรมวิธี แต่ละกรรมวิธีคือ เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ จำนวน 10 ไอโซเลท ที่คัดเลือกได้


ไฟล์แนบ
.pdf   244_2556.pdf (ขนาด: 644.28 KB / ดาวน์โหลด: 549)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม