ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้
#1
ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้
ปิยาณี หนูกาฬ, สมเกียรติ กล้าแข็ง, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปราสาททอง พรหมเกิด และทรงทัพ แก้วตา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้ โดยศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก    P. siamensis ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสวนกล้วยไม้ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเลี้ยงทาก P. Siamensis ในห้องปฏิบัติการเป็นการสำรวจหาแปลงเกษตรกรที่มีการระบาด เก็บตัวอย่างทาก มาเลี้ยงขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. siamensis ในห้องปฏิบัติการนั้นเป็นการใช้สารกำจัดหอย 2 ชนิด คือ  niclosamide-olamine 83.1%WP เป็นผงละลายตามอัตราที่กำหนดแล้วพ่นใส่ในกล่องเลี้ยงทากให้ทั่ว และเหยื่อเม็ดสำเร็จรูป metaldehyde 5%GB ใช้หว่านหรือวางกองไว้เป็นจุดๆให้ทากกิน วางแผนการทดลองแบบ CRD 6 ซ้ำ  7  กรรมวิธี พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง niclosamide-olamine 83.1%WP ทุกอัตราทำให้ทากตายและเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง ทากตาย 100%  ส่วน metaldehyde 5%GB เมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง พบทากบางตัวเริ่มหยุดนิ่งอยู่รอบๆกองเหยื่อและค่อยๆตาย เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง ทากตายประมาณ 93.3%  แต่ละอัตราไม่มีความแตกต่าง การตายขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อเม็ดที่ทากแต่ละตัวกินเข้าไป ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อเม็ดที่วางให้ทากกิน และการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. Siamensis ในแปลงกล้วยไม้ วางแผนการทดลองแบบ CRD 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี  ผลการทดสอบ niclosamide-olamine 83.1%WP สุ่มนับทากก่อนฉีดพ่นสารพบทากเฉลี่ย 216 ตัว เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ทากตายเฉลี่ย 194 ตัว ประมาณ 89.81% ส่วน metaldehyde 5%GB สุ่มนับทากเมื่อเริ่มวางเหยื่อพบทากเฉลี่ย 252 ตัว เมื่อผ่านไป 24  ชั่วโมง ทากตายเฉลี่ย 128 ตัว ประมาณ 50.79%


ไฟล์แนบ
.pdf   160_2557.pdf (ขนาด: 174.43 KB / ดาวน์โหลด: 323)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม