วิจัยการใช้ว่านน้ำทำสูตรผสมกับพืชอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
#1
วิจัยการใช้ว่านน้ำทำสูตรผสมกับพืชอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
พรรณีกา  อัตตนนท์, ธนิตา ค่ำอำนวย และศิริพร สอนท่าโก
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          งานวิจัยสูตรผลิตภัณฑ์ผสมรวมพืชว่านน้ำ  สะเดา และหางไหลในป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นงานวิจัยต่อจากการศึกษาประสิทธิภาพส่วนผสมรวมพืช ว่านน้ำ สะเดา และหางไหลในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อเป็นการนำพืชว่านน้ำ สะเดา และหางไหล มาผสมปรุงแต่งให้เป็นสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืช แล้วนำมาศึกษาประสิทธิภาพของปริมาณสารสำคัญในสูตรผลิตภัณฑ์ผสมรวมพืชทั้งก่อนและหลังการใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งที่อุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทำการศึกษาทดลองวางแผนแบบ CRD 5 ซ้ำ 3 กรรมวิธี มีสูตรเป็นกรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธี A0, A0.45 และ A1 จากผลการศึกษาทดลองได้สูตรผสมรวมพืชจำนวน 3 สูตร ดังนี้ สูตรหางไหล/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 60/40 จำนวน1 สูตร สูตรสะเดา/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 80/20 จำนวน 1 สูตร และสูตรสะเดา/หางไหล ที่อัตราส่วน 20/80 จำนวน 1 สูตร เมื่อนำแต่ละสูตรผสมรวมพืชมาทดสอบโดยใช้ความร้อนเป็นตัวเร่ง พบว่าปริมาณสารสำคัญ rotenone ในหางไหลแต่ละสูตรแต่ละกรรมวิธี มีปริมาณสารลดลง และตรวจไม่พบสารสำคัญ azadirachtin ในสะเดา ส่วนสารสำคัญ ß-asarone และ α-asarone เป็นสารสำคัญในว่านน้ำ ซึ่งในแต่ละสูตรแต่ละกรรมวิธี พบว่ามีปริมาณสาร α-asarone สูตรหางไหล/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 60/40 และสูตรสะเดา/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 80/20 มีปริมาณสารสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนสาร ß-asarone ในสูตรหางไหล/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 60/40 มีปริมาณสารไม่คงที่ แต่ในสูตรสะเดา/ว่านน้ำ ที่อัตราส่วน 80/20 มีปริมาณลดลง และหลังจากใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งในทุกสูตรทุกกรรมวิธี มีค่า pH ลดลง แต่อย่างไรก็ตามสูตรผสมรวมพืชแต่ละสูตรยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเช่นหนอนใยผักวัย 2 ได้


ไฟล์แนบ
.pdf   181_2557.pdf (ขนาด: 370.59 KB / ดาวน์โหลด: 849)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม