สำรวจและจำแนกพันธุ์มะเขือเทศเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
#1
สำรวจและจำแนกพันธุ์มะเขือเทศเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
ว่าที่ร.ต.อรรถพล  รุกขพันธ์, จิรภา ออสติน, รัชนี ศิริยาน และเสาวนี เขตสกุล
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

          ดำเนินการสำรวจ รวบรวมเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศจากพื้นที่แปลงปลูกและแปลงรวบรวมพันธุ์ของเกษตกรในภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ และพันธุ์การค้าจากต่างประเทศ เดือนตุลาคม 2554 – กุมภาพันธ์ 2555 นำมาปลูกเปรียบเทียบที่แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จำนวน 501 เบอร์ คัดเลือกเบอร์ที่มีลักษณะดีทั้งทางด้านสัณฐานวิทยาและการเกษตรได้ 162 เบอร์ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามการใช้ประโยชน์ คือ กลุ่มเชอร์รี่ กลุ่มสีดา กลุ่มรับประทานสดผลใหญ่ กลุ่มแปรรูป และกลุ่มต้นตอ และคัดเลือกลักษณะสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีรอยต่อขั้วผลและขั้วผลเหนียว กลุ่มที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในช่วงที่มีอุณหภูมิอากาศสูงทั้งการปลูกในแปลงและโรงเรือน ทำการผสมตัวเองเพื่อให้ได้สายพันธุ์แท้สำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในการคัดเลือกใช้ปรับปรุงพันธุ์ต่อไป และประเมินคัดเลือกเบอร์มะเขือเทศเพื่อใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสม โดยวิธีการทดสอบสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ (SCA) ของลูกผสมได้จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเชอร์รี่ คือ #036-8 x #041, #036-8 x #396, #186 x #002-6, #362-1 x #041 และ #448 x #041 และกลุ่มแปรรูป คือ #045 x #017-1, #045-6 x #033-6-2, #398 x #409, #402 x #398 และ #402 x #403


ไฟล์แนบ
.pdf   214_2557.pdf (ขนาด: 694.07 KB / ดาวน์โหลด: 3,497)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม