ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอกในข้าวโพดหวาน
#1
ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอกในข้าวโพดหวาน
ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี, อมฤต ศิริอุดม และเชาวนาถ พฤทธิเทพ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอกในข้าวโพดหวานพันธุ์ Hibrix3 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช และผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวโพดหวาน ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตร จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB 9 กรรมวิธี มี 4 ซ้ำ พ่นสารกำจัดวัชพืชหลังปลูกข้าวโพด 14 วันหลังปลูก พบว่าจากแปลงวัชพืชที่พบ ได้แก่ หญ้าตีนนก (Digitaria adscendens (H.B.K.) Henr.) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans (L.) Gard & Hubb.) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacustrum L.) ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) ผักโขม (Amaranthus viridis L.) และการพ่นสาร carfentrazone ethyl 40% WG nicosulfuron 6% OD, topramezone 33.6% W/V SC isoxadifen-ethyl 21% + tembotrione 42% W/V SC and atrazine/mesotrione การพ่นสาร glufosinate ammonium 15% W/V SL และสารกำจัดวัชพืช paraquat dichloride 27.6% W/V SL มีความเป็นพิษปานกลางต่อข้าวโพดหวาน โดยมีผลทำให้ในข้าวโพดที่สัมผัสกับละอองสารเกิดการไหม้ และอาการดังกล่าวยังคงพบได้จนถึงขณะเก็บเกี่ยว และการพ่นสารกำจัดวัชพืช topamezone, nicosulfuron 6% OD และ atrazine/mesotrione 25+2.5% W/V SC มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชได้ดียาวนานถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยไม่เป็นพิษต่อข้าวโพดและไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดอีกทั้งยังมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง


ไฟล์แนบ
.pdf   68_2560.pdf (ขนาด: 230.54 KB / ดาวน์โหลด: 1,205)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม