อนุกรมวิธานของแตนเบียนสกุล Encarsia ศัตรูธรรมชาติของแมลงหวี่ขาวในประเทศไทย
#1
อนุกรมวิธานของแตนเบียนสกุล Encarsia (Hymenoptera: Aphelinidae) ศัตรูธรรมชาติของแมลงหวี่ขาว (Hemiptera: Aleyrodidae) ในประเทศไทย
จารุวัตถ์ แต้กุล, สุนัดดา เชาวลิต, เกศสุดา สนศิริ, อาทิตย์ รักกสิกร, จอมสุรางค์ ดวงธิสาร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          แมลงหวี่ขาวยาสูบจัดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญ นอกจากทำลายพืชโดยตรงแล้วยังเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus ศัตรูพืชกักกันของประเทศไทย ซึ่งกำลังระบาดรุนแรงบริเวณภาคตะวันออกของประเทศกัมพูชา หากแมลงหวี่ขาวมีการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทย จะเกิดปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันกำจัดเนื่องจากแมลงชนิดนี้สามารถหลบหนีจากสารเคมีป้องกันกำจัด ไปซ่อนตัวในวัชพืชอาศัยบริเวณใกล้เคียงแปลงปลูกพืชหลักได้ การใช้ศัตรูธรรมชาติโดยเฉพาะแตนเบียนแมลงหวี่ขาวถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับชนิดของแตนเบียนศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของแมลงหวี่ขาวชนิดนี้ในประเทศไทย ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อทราบชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา และได้แนวทางการวินิจฉัยของแตนเบียนสกุล Encarsia ศัตรูธรรมชาติของแมลงหวี่ขาวในประเทศไทย ขณะนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมแมลงหวี่ขาวจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามและราชบุรี รวมทั้งจากแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี นำมาเลี้ยงเพื่อให้ได้ตัวอย่างแตนเบียนในห้องปฏิบัติการ ดำเนินการเลี้ยงแมลงหวี่ขาวในเพลทพลาสติกใส พบว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสามารถเก็บผลผลิตแตนเบียนแมลงหวี่ขาวได้ ขณะนี้ได้แตนเบียนจำนวน 40 ตัวอย่างจากที่เลี้ยงแมลงหวี่ขาวรวมได้ตัวอย่างแตนเบียนแมลงหวี่ขาวเพื่อดำเนินการศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธานทั้งสิ้น 70 ตัวอย่าง ได้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญ 10 ลักษณะ ได้แก่ number of segments on tarsi, small hairs on fore wing, segmented antennae, shape and color of mesosoma and metasoma, shape of forewings in some species, mid tibial spur corresponding with basitarsus, sensillum on F2 in female, sculpture of mid lobe of female mesoscutum, shape and length of F1 female antennae, setation on the mesoscutum นอกจากนี้ได้ตัวอย่างเก็บในพิพิธภัณฑ์แมลงทั้งตัวอย่างสด ตัวอย่างแห้งและสไลด์ถาวร


ไฟล์แนบ
.pdf   103_2561.pdf (ขนาด: 457.69 KB / ดาวน์โหลด: 704)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม