การคัดเลือกสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก
#1
การคัดเลือกสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ,วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร,สุชาดา สุพรศิลป์,สรรชัย เพชรธรรมรส,สิริวิภา พ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก Plutella xylostella Linnaeus (Plutellidae : Lepidoptera) ในคะน้า โดยทำการทดลองในแปลงผักของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2555 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 2) กรรมวิธีพ่นสาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร 3) กรรมวิธีพ่นสาร spinosad (Success120 SC 12% EC) อัตรา 60 มล./น้ำ 20 ลิตร 4) กรรมวิธีพ่นสาร spinetoram (Exalt 12% SC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร 5) กรรมวิธีพ่นเชื้อ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai 35,000 DBMU/mg (Xentari) อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ 6) กรรมวิธีไม่พ่นสาร เริ่มพ่นสารเมื่อพบหนอนใยผักระบาดด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง ประกอบหัวฉีดแบบกรวยกลวง ด้วยอัตราพ่น 80, 100 และ 120 ลิตร/ไร่ เมื่อคะน้าอายุ 25, 35 และ 45 วัน ตามลำดับ พ่นสารทุก 4 วัน จำนวน 5 ครั้ง ตรวจนับหนอนใยผักบนคะน้า 25 ต้น/แปลงย่อย ก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 4 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตคะน้าในพื้นที่ 1 ตารางเมตร/แปลงย่อย บันทึกจำนวนต้นและน้ำหนักตามคุณภาพตลาด ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีที่สุด รองลงมาคือ สาร spinosad ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีกว่าแปลงไม่พ่นสาร ยกเว้นกรรมวิธีพ่นสาร flubendiamide


ไฟล์แนบ
.pdf   2397_2555.pdf (ขนาด: 260.24 KB / ดาวน์โหลด: 807)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม