การประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Curvularia eragrostidi
#1
การประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Curvularia eragrostidis สาเหตุโรคพืช
สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืช จำนวน 13 ชนิด ในการยับยั้งเชื้อรา Curvularia eragrostidis สาเหตุโรคใบไหม้ของกล้าปาล์มน้ำมัน ในห้องปฎิบัติการ พบว่า สารทดสอบทั้ง 13 ชนิด ที่ความเข้มข้นตามอัตราที่แนะนำในฉลาก มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. eragrostidis โดยที่สาร difenoconazole 25% W/V EC flusilazole 40% hexaconazole 5% SC imazalil 50 % propiconazole และ pyraclostrobin ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุด คือ ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ 100% รองลงมาได้แก่ mancozeb 80% WP thiram WG captan 50% iprodione copper oxychloride 85% azoxystrobin และ carbendazim ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ 91.11, 86.67, 79.89, 78.22, 63.11, 49.33 และ 34.89 % ตามลำดับ ในขณะที่กรรมวิธีเปรียบเทียบโดยใช้น้ำนึ่งฆ่าเชื้อ ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ และเมื่อสังเกตด้วยตาเปล่า ไม่พบความผิดปกติของเส้นใยเชื้อราบนอาหารทดสอบที่มีสารป้องกันกำจัดโรคพืช ยกเว้น สาร carbendazim 50% WP และ iprodione 50% WP พบว่าปลายเส้นใยของเชื้อราชูข้นเหนือผิวหน้าอาหาร และจากการทดสอบในเรือนปลูกพืชทดลองพบว่า สาร captan 50% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร iprodione 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร mancozeb 80% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร propiconazole 25% W/V EC อัตรา 50 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร และ thiram 80% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีแนวโน้มมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ของกล้าปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อรา C. eragrostidis โดยจะทำการทดลองเพื่อยืนยันผลการทดลองอีกครั้ง


ไฟล์แนบ
.pdf   2412_2555.pdf (ขนาด: 254.26 KB / ดาวน์โหลด: 909)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม