การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของหนอนเจาะผล, Cryptophlebia ombrodelta (Lower) ในลิ้นจี่
#1
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของหนอนเจาะผล Cryptophlebia ombrodelta (Lower) ในลิ้นจี่
บุษบง มนัสมั่นคง, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, พวงผกา อ่างมณี, สุนัดดา เชาวลิต, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท และเกรียงไกร จำเริญมา
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของหนอนเจาะผล Cryptophlebia ombrodelta (Lower) ในลิ้นจี่ ดำเนินการสำรวจในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และสมุทรสงคราม ในระยะเก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ โดยสุ่มสำรวจแมลงในแปลงโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) คือ สุ่มตัดช่อผลลิ้นจี่ต้นละ 4 ทิศๆ ละ 1 ช่อ จำนวน 10 ต้น/แปลง ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2555 ผลการสำรวจจากแหล่งปลูกลิ้นจี่ ปี 2554 จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5 แปลง จังหวัดน่าน จำนวน 9 แปลง จังหวัดพะเยา จำนวน 12 แปลง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 แปลง และ จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 แปลง รวม 47 แปลง จากผลผลิต 15,194 ผล น้ำหนัก 234.88 กิโลกรัม ปี 2555 จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2 แปลง จังหวัดน่าน จำนวน 9 แปลง จังหวัดพะเยา จำนวน 12 แปลง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 แปลง และจังหวัดเชียงราย จำนวน 8 แปลง รวม 51 แปลง จากผลผลิต 15,232 ผลน้ำหนัก 225.38 กิโลกรัม ในเบื้องต้นไม่พบหนอนเจาะผล Cryptophlebia ombrodelta (Lower) ในทุกแปลงที่ทำการสำรวจ ปี 2554 พบหนอนเจาะขั้วผล Conopomorpha sinensis Breadley เข้าทำลายผลลิ้นจี่ทุกจังหวัดที่ทำการสำรวจ โดยพบเกือบทุกแปลงที่ดำเนินการสำรวจ และพบหนอนเจาะผล Deudoric epijarbas Moore เฉพาะในแปลงลิ้นจี่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555 พบหนอนเจาะขั้วผล Conopomorpha sinensis Breadley เข้าทำลายผลลิ้นจี่ทุกแปลงที่ดำเนินการสำรวจ และพบหนอนเจาะผล Deudoric epijarbas Moore เฉพาะในแปลงลิ้นจี่ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนตัวอย่างหนอนที่ลงทำลายผลอีก 1 - 2 ชนิด ที่พบในอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต้องรอการยืนยันชนิดจากนักอนุกรมวิธานอีกครั้ง


ไฟล์แนบ
.pdf   2483_2555.pdf (ขนาด: 235.55 KB / ดาวน์โหลด: 433)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม