การเฝ้าระวังราเขม่าดำ Urocystis cepulae Frost ในพื้นที่ปลูกหอมแดง
#1
การเฝ้าระวังราเขม่าดำ Urocystis cepulae Frost ในพื้นที่ปลูกหอมแดง
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          จากการสำรวจโรคราเขม่าดำของหอมแดง ในเขตภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน ช่วงจากการสำรวจโรคราเขม่าดำ (Urocystis cepulae) ของหอมแดงในแหล่งปลูกภาคกลางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ช่วงเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 ว่ามีราเขม่าดำปรากฏ/ไม่ปรากฏ โดยทำการสำรวจทั้งหมดจำนวน 127 แปลง พบว่าไม่ปรากฏโรคราเขม่าดำในทุกแปลงที่ทำการสำรวจแต่พบการระบาดของโรคแอนแทรคโนสและโรคหอมเลื้อยสาเหตุเกิดจากรา Colletotrichum gloeosporioides โรคหัวและรากเน่า สาเหตุเกิดจากรา Slerotium rolfsii โรครากปมสาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita และ โรคราดำ (Black Mold) สาเหตุเกิดจาก Aspergillus niger


ไฟล์แนบ
.pdf   2485_2555.pdf (ขนาด: 821.07 KB / ดาวน์โหลด: 1,606)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม