ทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับกระเทียม
#1
ทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับกระเทียม
ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, ธีรศักดิ์ โกเมฆ, สนอง อมฤกษ์, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, ปรีชา ชมเชียงคำ, สมเดช ไทยแท้, อนุชา เชาว์โชติ และณฐนน ฟูแสง
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรกลเกษตรในระบบการผลิตกระเทียมให้ได้ต้นแบบมีประสิทธิภาพ ช่วยลดแรงงานและการสิ้นเปลืองเวลาในการปฏิบัติงาน โดยการปรับปรุงพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็ก สำหรับใช้ในขั้นตอนการแกะกลีบเพื่อเตรียมกระเทียมพันธุ์ปลูก และขั้นตอนการปลูกกระเทียม ได้ต้นแบบเครื่องแกะกลีบกระเทียมพันธุ์ ลักษณะแบบลูกยางกะเทาะ 2 ลูก มีขนาดเท่ากัน ใช้ตะแกรงโยกคัดแยกเศษออกแบบชั้นเดียว และมีพัดลมทำความสะอาดแบบเหวี่ยงหนีศูนย์ ต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1 แรงม้า แบบ 1 เฟส 220 โวลท์ จากผลการทดสอบพบว่า มีสมรรถนะการทำงานเฉลี่ย 233.79 กิโลกรัม/ชั่วโมง โดยการตั้งระยะปากของลูกกะเทาะตัวบนที่ 24.50 มิลลิเมตร และระยะปากของลูกกะเทาะตัวล่างที่ 10.80 มิลลิเมตร ใช้ความเร็วรอบของลูกกะเทาะตัวบน และลูกกะเทาะตัวล่างเท่ากันที่ 169 รอบ/ นาที ตะแกรงโยกคัดแยกเศษ ใช้ความเร็วรอบเพลาลูกเบี้ยวที่ 225 รอบ/นาที ได้ต้นแบบเครื่องคัดขนาดกลีบกระเทียมพันธุ์ ลักษณะแบบตะแกรงโยกคัดขนาด ชุดตะแกรงโยกคัดขนาดมี 3 ชั้น คือ ชั้นบนแรกสุดใช้พื้นตะแกรงรูกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.62 มิลลิเมตร ชั้นกลางใช้พื้นตะแกรงรูกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.37 มิลลิเมตร และชั้นล่างใช้พื้นตะแกรงรูกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.35 มิลลิเมตร มีพัดลมทำความสะอาดแบบเหวี่ยงหนีศูนย์ ต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1 แรงม้า แบบ 1 เฟส 220 โวลท์ จากผลการทดสอบพบว่า มีสมรรถนะการทำงานเฉลี่ย 391.62 กิโลกรัม/ชั่วโมง ชุดตะแกรงโยกคัดขนาดแบบ 3 ชั้น ใช้ความเร็วรอบเพลาลูกเบี้ยวที่ 306 รอบ/นาที จากการทดสอบหาผลความสมบูรณ์ของกลีบกระเทียมที่แกะด้วยเครื่องต้นแบบพบว่า กระเทียมพันธุ์หัวเล็ก จาก ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว พบการแตกและช้ำของกลีบเฉลี่ย 3.40 %โดยน้ำหนัก ส่วนกระเทียมพันธุ์หัวใหญ่ จาก ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว พบการแตกและช้ำของกลีบเฉลี่ย 4.42 % โดยน้ำหนัก และได้ต้นแบบเครื่องปลูกกระเทียม ลักษณะแบบกระพ้อตักชนิด 6 แถว ชนิดติดเครื่องยนต์เบนซินสูบเดียวขนาดเล็ก จากผลการทดสอบพบว่า มีอัตราการหยอดเฉลี่ย 108, 102, และ 103 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีสมรรถนะการทำงานเฉลี่ย 0.58, 0.76, และ 1.01 ไร่/ชั่วโมง ที่ความเร็วรถเดิน 1.5, 2.0, และ 2.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง และอัตราการสูญเสียเฉลี่ยของเมล็ดแตก มีค่าเป็นศูนย์ ที่ทุกความเร็วรถเดิน


ไฟล์แนบ
.pdf   21_2559.pdf (ขนาด: 946.53 KB / ดาวน์โหลด: 640)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับกระเทียม - โดย doa - 09-11-2018, 10:37 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม