การพัฒนาวิธีการเก็บรักษา สารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของ Sarcocystis singaporensis
#1
การพัฒนาวิธีการเก็บรักษา สารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของ Sarcocystis singaporensis โดยใช้ potassium dichromate (K2Cr2O7) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาสำหรับผลิตเป็นเหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ปิยาณี หนูกาฬ และทรงทัพ แก้วตา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การเก็บรักษาสปอร์โรซีสต์ของปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการเปรียบเทียบกรรมวิธีการเก็บรักษาเชื้อที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี ได้แก่ การล้างด้วยวิธี Sheather’s sucrose flotation/ Saturate NaCl solution และน้ำประปา เก็บรักษาลงในสารละลาย 2% potassium dichromate (K2Cr2O7) ที่อุณหภูมิ 4 - 10 ๐C โดยเปรียบเทียบกับวิธีการล้างแบบปกติด้วยน้ำประปา ทำการทดลองหาศักยภาพความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อกับหนูทดลอง และเปอร์เซนต์การมีชีวิตของเชื้อ ทุก 6 เดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี พบว่าศักยภาพความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อกับหนูทดลอง ที่ระยะเวลาการเก็บรักษาเชื้อ 6 เดือน, 1 ปี, 1 ปี 6 เดือน และ 2 ปี นั้น มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนูทดลองเท่ากับ 100, 100, 37.5 และ 18.75% ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเปอร์เซนต์การมีชีวิตของเชื้อ ที่ระยะเวลาการเก็บรักษาเชื้อ 6 เดือน, 1 ปี, 1 ปี 6 เดือน และ 2 ปี นั้น อยู่ที่ 93.5, 74.5, 68.25 และ 55.25% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   129_2560.pdf (ขนาด: 360.25 KB / ดาวน์โหลด: 525)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การพัฒนาวิธีการเก็บรักษา สารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของ Sarcocystis singaporensis - โดย doa - 12-17-2018, 04:02 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม