วิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูด
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูด
ทวีป หลวงแก้ว, วาสนา สุภาพรหม, วสรรญ ผ่องสมบูรณ์, ณรงค์ แดงเปี่ยม และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร

          การเปรียบเทียบสายต้นมะกรูดจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้สายต้นมะกรูดที่เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง เปลือกหนา ใบใหญ่ และมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วยสายต้นมะกรูดจากแหล่งต่างๆ 6 สายต้น ได้แก่ จบ.01 นฐ.02 พจ.01 พจ.02 พจ.03 และ พจ.04 พบว่า สายต้น พจ.01 เป็นสายต้นมะกรูดที่เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง เปลือกหนา ใบใหญ่ และมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง มีความสูงต้น 151 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 164 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนต้น 12.6 เซนติเมตร ความกว้างใบ 4.69 เซนติเมตร ความยาวใบ 11.8 เซนติเมตร ความหนาใบ 0.33 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 156 ผลต่อต้น น้ำหนักผล 76.4 กรัม น้ำหนักผลผลิตรวม 11.7 กิโลกรัมต่อต้น ความหนาเปลือกผล 2.54 มิลลิเมตร น้ำหนักเปลือกผล 24.9 กรัมต่อผล ปริมาณร้อยละผลผลิตน้ำมันหอมระเหยเปลือกผล 1.23 และใบ 1.14 และการศึกษาต้นตอที่เหมาะสมในการผลิตมะกรูดระยะที่ 2 ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยใช้มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอทรอยเยอร์ โวลคาเมอเรียน่า มะนาวพวง คลีโอพัตรา ส้มโอ และมะกรูดกิ่งตอน พบว่า เมื่อต้นมะกรูดอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 4 ปี 2 เดือน มีการเจริญเติบโตของความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบวงโคนต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อต้นมะกรูดอายุ 4 ปี 2 เดือน มะกรูดเสียบยอดบนต้นตอส้มโอมีความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบวงโคนต้นมากที่สุด 154 152 และ 11.2 เซนติเมตร มะกรูดเสียบยอดบนต้นตอมะนาวพวงมีปริมาณและคุณภาพของผลมะกรูดดีที่สุด มีจำนวนผล 26.0 ผลต่อต้น น้ำหนักผล 73.6 กรัม เส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างผล 5.55 เซนติเมตร ความหนาเปลือกผล 2.59 มิลลิเมตร น้ำหนักเปลือกผล 20.9 กรัมต่อผล และปริมาณน้าคั้น 16.9 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักผล 100 กรัม ดังนั้นต้นตอมะนาวพวงเหมาะสมในการผลิตมะกรูดมากที่สุด

การเปรียบเทียบสายต้นมะกรูดจากแหล่งต่างๆ
ทวีป หลวงแก้ว, วาสนา สุภาพรหม, วสรรญ ผ่องสมบูรณ์, ณรงค์ แดงเปี่ยม และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร

          การเปรียบเทียบสายต้นมะกรูดจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้สายต้นมะกรูดที่เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง เปลือกหนา ใบใหญ่ และมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วยสายต้นมะกรูดจากแหล่งต่างๆ 6 สายต้น ได้แก่ จบ.01 นฐ.02 พจ.01 พจ.02 พจ.03 และ พจ.04 พบว่า สายต้น พจ.01 มีการเจริญเติบโต ขนาดใบ การออกดอก ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต และปริมาณน้ำมันหอมระเหยดีที่สุด มีความสูงต้น 151 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 164 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนต้น 12.6 เซนติเมตร ความกว้างใบ 4.69 เซนติเมตร ความยาวใบ 11.8 เซนติเมตร ความหนาใบ 0.33 เซนติเมตร จำนวนช่อดอกต่อต้น 68.1 ช่อดอก จำนวนดอกต่อต้น 507 ดอก ให้ผลผลิต 156 ผลต่อต้น น้ำหนักผล 76.4 กรัม น้ำหนักผลผลิตรวม 11.7 กิโลกรัมต่อต้น ความหนาเปลือกผล 2.54 มิลลิเมตร น้ำหนักเปลือกผล 24.9 กรัมต่อผล ปริมาณร้อยละผลผลิตน้ำมันหอมระเหยเปลือกผล 1.23 และใบ 1.14 ดังนั้น สายต้น พจ.01 เป็นสายต้นมะกรูดที่เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง เปลือกหนา ใบใหญ่ และมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง

ศึกษาต้นตอที่เหมาะสมในการผลิตมะกรูดระยะที่ 2
ทวีป หลวงแก้ว, วาสนา สุภาพรหม, วสรรญ ผ่องสมบูรณ์, ณรงค์ แดงเปี่ยม และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร

          การศึกษาต้นตอที่เหมาะสมในการผลิตมะกรูดระยะที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยการปลูกมะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอทรอยเยอร์ โวลคาเมอเรียน่า มะนาวพวง คลีโอพัตรา ส้มโอ และมะกรูดกิ่งตอน เดือนพฤษภาคม 2556 ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร อาเภอเมือง จังหวัดพิจิตร พบว่า เมื่อต้นมะกรูดอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 4 ปี 2 เดือน (เดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2560) มีการเจริญเติบโตของความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบวงโคนต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อต้นมะกรูดอายุ 4 ปี 2 เดือน มะกรูดเสียบยอดบนต้นตอส้มโอมีความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่มและเส้นรอบวงโคนต้นมากที่สุด 154 152 และ 11.2 เซนติเมตร มะกรูดเสียบยอดบนต้นตอมะนาวพวงมีปริมาณและคุณภาพของผลมะกรูดดีที่สุด มีจำนวนผล 26.0 ผลต่อต้น น้ำหนักผล 73.6 กรัม เส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างผล 5.55 เซนติเมตร ความหนาเปลือกผล 2.59 มิลลิเมตร น้ำหนักเปลือกผล 20.9 กรัมต่อผล และปริมาณน้าคั้น 16.9 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักผล 100 กรัม ดังนั้นต้นตอมะนาวพวงเหมาะสมในการผลิตมะกรูดมากที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   12_2561.pdf (ขนาด: 1.57 MB / ดาวน์โหลด: 4,563)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
วิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูด - โดย doa - 05-30-2019, 02:18 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม