สัณฐานวิทยาของเปลือกและกายวิภาคศาสตร์ระบบสืบพันธุ์หอยเจดีย์เล็กและหอยเจดีย์ใหญ่
#1
สัณฐานวิทยาของเปลือกและกายวิภาคศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ ของหอยเจดีย์เล็ก Lamellaxis gracilis และหอยเจดีย์ใหญ่ Prosopea walkeri (Benson)
ดาราพร รินทะรักษ์, ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ และสมเกียรติ กล้าแข็ง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ผลการสำรวจและเก็บตัวอย่างหอยเจดีย์เล็กและหอยเจดีย์ใหญ่ตามพื้นที่เกษตรกรรมภาคต่างๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 พบว่าช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน พบการระบาดของหอยเจดีย์เล็กค่อนข้างมาก เฉลี่ย 32 ตัว/ตร.ม. และช่วงเดือนกรกฎาคม กันยายน พบการระบาดของหอยเจดีย์ใหญ่มาก เฉลี่ย 46 ตัว/ตร.ม. โดยวัดค่า pH ดินเฉลี่ย = 7.0 และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 65 - 70 % นำมาจำแนกชนิดตามระบบอนุกรมวิธานของหอย พบว่าทั้งหอยเจดีย์เล็กและหอยเจดีย์ใหญ่ จัดอยู่ใน Class Gastropoda, Order Stylommatophora, Family Subulinidae แต่ถูกจำแนกคนละ Genus โดยหอยเจดีย์เล็กจัดอยู่ใน Genus Lamellaxis, Species: Lamellaxis gracilis (Hutton) ส่วนหอยเจดีย์ใหญ่จัดอยู่ใน Genus Prosopeas, Species: Prosopeas walkeri (Benson)

          จากการศึกษาสัณฐานวิทยาของเปลือกหอยเจดีย์เล็กและหอยเจดีย์ใหญ่ พบว่าหอยเจดีย์เล็กตัวเต็มวัย มีขนาด 5.42 - 9.91 มิลลิเมตร (n= 42) มีจำนวนไม่เกิน 7 whorls เปลือกสีน้ำตาลโปร่งแสง และเป็นมันวาว ยอดเปลือกแหลม จำนวนไข่ 2 - 13 ฟอง และหอยเจดีย์ใหญ่ตัวเต็มวัย มีขนาด 12.33 - 24.45 มิลลิเมตร (n= 60) มีจำนวนมากกกว่า 7 whorls เปลือกสีน้ำตาลค่อนข้างโปร่งแสง เปลือกเป็นมันวาวน้อยกว่าหอยเจดีย์เล็ก ยอดเปลือกทู่มน จำนวนไข่ 4 - 15 ฟอง จำนวนไข่ของหอยเจดีย์ทั้งสองชนิดขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของตัวเต็มวัยแต่ละตัว ซึ่งยังต้องวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์ ANOVA พร้อมกับเปรียบเทียบกายวิภาคระบบสืบพันธุ์ ของหอยทั้ง 2 ชนิด ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2500_2555.pdf (ขนาด: 510.91 KB / ดาวน์โหลด: 2,652)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
สัณฐานวิทยาของเปลือกและกายวิภาคศาสตร์ระบบสืบพันธุ์หอยเจดีย์เล็กและหอยเจดีย์ใหญ่ - โดย doa - 12-01-2015, 03:57 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม