การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้สกุลแวนดาที่เกิดจากแบคทีเรีย
#1
การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้สกุลแวนดาที่เกิดจากแบคทีเรีย
ศรีสุข พูนผลกุล, วรางคนา แซ่อ้วง, สุรีย์พร บัวอาจ, รุ่งนภา คงสุวรรณ และปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช, กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

         จากการทดลองพบว่า เชื้อ Erwinia carotovora subsp. carotovora ใช้สารเคมีแคงเกอร์X 19.5 % WP ที่ความเข้มข้น 300, 450 และ 600 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 2.0, 2.12 และ 2.36 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคาซูมิน แอล 2% W/V SL ที่ความเข้มข้น 1500, 2000 และ 2500 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.8, 0.74 และ 1.17 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีริคโกมิลโกลด์ 12 68% WG ที่ความเข้มข้น 1000, 2000 และ 3000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.44, 0.36 และ 0.44 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคูโปรฟิกซ์ 77% WG ที่ความเข้มข้น 2000, 3000 และ 4000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.14, 0.26 และ 0.18 เซนติเมตร ตามลำดับ

         เชื้อ E. chrysanthemi ใช้สารเคมีแคงเกอร์X 19.5 % WP ที่ความเข้มข้น 300, 450 และ 600 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 1.04, 1.0 และ 1.04 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคาซูมิน แอล 2% W/V SL ที่ความเข้มข้น 1500, 2000 และ 2500 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.48, 0.5 และ 0.78 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีริคโกมิลโกลด์12 68% WG ที่ความเข้มข้น 1000, 2000 และ 3000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0, 0.68 และ 0.72 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคูโปรฟิกซ์ 77% WG ที่ความเข้มข้น 2000, 3000 และ 4000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.2, 0.06 และ 0.06 เซนติเมตร ตามลำดับ

         เชื้อ Acidovorax avenae subsp.cattleyae ใช้สารเคมีแคงเกอร์X 19.5 % WP ที่ความเข้มข้น 300, 450 และ 600 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 3.1, 3.38 และ 3.5 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคาซูมิน แอล 2% W/V SL ที่ความเข้มข้น 1500, 2000 และ 2500 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 1.2, 1.82 และ 2.06 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีริคโกมิลโกลด์12 68% WG ที่ความเข้มข้น 1000, 2000 และ 3000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 1.0, 1.08 และ 1.12 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคูโปรฟิกซ์ 77% WG ที่ความเข้มข้น 2000, 3000 และ 4000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.56, 0.8 และ 0.72 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีนอร์ดอกซ์ 58% WP ที่ความเข้มข้น 1000, 1500 และ 2000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.08, 0.06 และ 0.58 เซนติเมตร ตามลำดับ

         เชื้อ Burkholderia gladioli ใช้สารเคมีแคงเกอร์X 19.5 % WP ที่ความเข้มข้น 300, 450 และ 600 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.2, 0.34 และ 0.44 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีคูโปรฟิกซ์ 77% WG ที่ความเข้มข้น 2000, 3000 และ 4000 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.1, 0.2 และ 0.2 เซนติเมตร ตามลำดับ สารเคมีฟังกูราน 77% WP ที่ความเข้มข้น 500, 750 และ 1250 ppm มีเส้นผ่านศูนย์กลางความกว้างของส่วนใสบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.04, 0.16 และ 0.3 เซนติเมตร ตามลำดับ

         การทดสอบปฏิกิริยาการดื้อต่อสารเคมี โดยทำการผสมสารเคมีในกลุ่มของสารปฏิชีวนะ และสารประกอบคอปเปอร์ ที่ความเข้มข้นต่ำกว่าที่แนะนำ ในอาหารเลี้ยงเชื้อแล้วนำแบคทีเรียสาเหตุโรค 4 ชนิด ใช้ลูปแตะเชื้อนำมาลากบนอาหารผสมสารเคมีพบว่า เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้จึงสรุปได้ว่าเชื้อแบคทีเรียไม่มีการดื้อต่อสารเคมี

         การทดลองในปี 2555 จะทำการคัดเลือกสารเคมี 3 ตัวมาทำการทดลองในระดับโรงเรือนปลูกพืชทดลองต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2015_2554.pdf (ขนาด: 99.93 KB / ดาวน์โหลด: 670)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม