ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตพริกอินทรีย์
#1
ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตพริกอินทรีย์
พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, นาตยา จันทร์ส่อง และสิรี สุวรรณเขตนิคม

          เพื่อศึกษาความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตพริกอินทรีย์ จึงทำการทดลองขึ้นโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ในระบบอินทรีย์ คือ 1) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 3 วัน 2) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน 3) พ่นน้ำหมักปลาทุก 3 วัน 4) พ่นน้ำหมักปลาทุก 7 วัน 5) ไม่ใช้น้ำหมักฯ ใดๆ โดยก่อนปลูกปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ ไถกลบก่อนปลูก 15 วัน กรรมวิธีที่พ่นน้ำหมักจะพ่นน้ำหมักสมุนไพรควบคู่ไปด้วย บันทึกข้อมูล ผลผลิตและคุณภาพ และต้นทุนที่ต่างกัน ทำการทดลองที่ ศวร.เชียงใหม่ และศวร.อุบลราชธานี ในฤดูแล้งปี 2549 - 2551 ผลการทดลองพบว่าทั้งที่ ศวร.ชม. (ปี 2549 - 51) และศวร.อบ. (ปี 2550 - 51) ให้ผลผลิตพริกสดและพริกแห้งไม่แตกต่างกันทางสถิติทุกกรรมวิธี โดยเฉลี่ย 253.9 กก./ไร่ (ศวร.ชม.) และ 213.9 กก./ไร่(ศวร.อบ.) แต่ผลกำไรสุทธิ (รายได้-ต้นทุนที่ต่างกัน) ของการใช้น้ำหมักปลาและผลไม้ทุก 7 วัน สูงกว่ากรรมวิธีอื่น


ไฟล์แนบ
.pdf   994_2551.pdf (ขนาด: 957.38 KB / ดาวน์โหลด: 752)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม