การบริหารศัตรูมะม่วงแบบผสมผสาน
#1
การบริหารศัตรูมะม่วงแบบผสมผสาน
สราญจิต ไกรฤกษ์, ปิยรัตน์ เขียนมีสุข, ยุทธนา แสงโชติ, พวงผกา อ่างมณี, พรพิมล อธิปัญญาคม และคมสัน นครศรี

          ในพื้นที่แปลงมะม่วงขนาด 5 ไร่ ณ ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ตรวจนับแมลงศัตรูพืชจากยอด/ช่อดอก จำนวน 10 ช่อ/ต้น ทั้งหมด 10 ต้น การใช้สารฆ่าแมลงในระยะแตกใบอ่อนจนกระทั่งแทงช่อดอกและติดผล ในปี 2549 ในแปลง IPM พบศัตรูที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟและเพลี้ยจักจั่นที่สูงกว่าระดับเศรษฐกิจ รวมการพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงแตกใบอ่อนจนถึงระยะติดผลอ่อนรวม 8 ครั้ง พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช รวม 4 ครั้ง แปลง IPM ได้กำไรมากกว่าร้อยละ 26.06 สัดส่วนการลงทุน 1.19 ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนแปลงเกษตรกร 1.15 ในปี 2550 แปลง IPM ตรวจนับแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีเดียวกับในปี 2549 ในระยะช่อดอกพบปริมาณเพลี้ยไฟและเพลี้ยจักจั่นสูงกว่าระดับเศรษฐกิจ และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสและสารกำจัดวัชพืช รวมการใช้สารเคมีในแปลง IPM 9 ครั้ง ในแปลงเกษตรกร มีการระบาดของเพลี้ยไฟเพลี้ยจักจั่กมะม่วงและหนอนเจาะยอด มีการใช้สารฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดโรคพืช สารกำจัดวัชพืช รวมการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรกร 12 ครั้ง แปลง IPM ได้กำไรมากกว่าร้อยละ 18.93 สัดส่วนการลงทุน 1.23 ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนแปลงเกษตรกร 0.83

          ในปี 2551 ดำเนินการเปรียบเทียบกรรมวิธีเช่นเดิม แปลง IPM ในระยะช่อดอกปริมาณเพลี้ยไฟสูงกว่าระดับเศรษฐกิจ 2 ครั้ง เพลี้ยจักจั่นสูงกว่าระดับเศรษฐกิจ 2 ครั้ง พ่นสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส รวม 6 ครั้ง รวมการใช้สารเคมีในแปลง IPM 8 ครั้ง ในแปลงเกษตรกร มีการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ใช้สารฆ่าแมลง 8 ครั้ง ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช 10 ครั้ง รวมการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรกร 12 ครั้ง แปลงทดสอบ (IPM) มีการพ่นสารน้อยกว่าแปลงของเกษตรกร 33.34% สัดส่วนการลงทุน แปลงทดสอบ (IPM) 1.30 แปลงเกษตรกร สัดส่วนการลงทุน 1.20


ไฟล์แนบ
.pdf   957_2551.pdf (ขนาด: 951.04 KB / ดาวน์โหลด: 781)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม