ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอ
#1
ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอ
สุพัตรา อินทวิมลศรี

          โรคโคนเน่าของส้มโอพบระบาดที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม อ.เมือง จ.ชัยนาท อ.เขาสมิง จ.ตราดและโรครากเน่าที่ จ.กำแพงเพชร เก็บตัวอย่างพืชเป็นโรคโคนเน่าและรากเน่านำมาแยกเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อ RNV โดยวิธี Tissue Transplanting จำแนกเชื้อราสาเหตุโรคพบว่าเป็นเชื้อรา Phytophthora parasitica และได้พิสูจน์โรคโดยการทำแผลที่โคนต้นในช่วงฝนตกทำให้เกิดแผลเน่าได้ การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อรา 20 ชนิดในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา P. parasitica ในห้องปฏิบัติการพบว่าเมทาแลคซิล 25 %WP, อินเวนโต 66.8%WP, คาลิกซิน 75 %EC, ซีเทน–อี 12.5 %EC, แมนโคเซ็บ 80 %WP, ดาโคนิล 75 %WP, เทอราโซล 24 %EC  สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดี การควบคุมโรคในสภาพไร่ทดลองที่สวนเกษตรกร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยใช้สารป้องกันจำกัดเชื้อรา เมทาแลคซิล 25 %WP, ฟอสเอทธิล อลูมินัม 80 %WP, อินเวนโต 66.8 %WP, เทอราโซล 24 %EC โดยการทาแผลที่โคนต้นหลังถากแผลเน่าออก ทาอย่างน้อย 2 ครั้ง และคิวโปรฟอส 40 % ฉีดเข้าลำต้นในเวลา 45 วัน แผลจะแห้งและเริ่มสร้างเนื้อไม้ (Callus) ทดแทนได้ ต้นที่เคยเป็นโรคอาจมีการลุกลามของโรคโรคเน่าในต้นเดิมและต้นใกล้เคียงจึงใช้สารทาโคนต้นซ้ำอีกครั้งจนแผลแห้งและสร้างเนื้อไม้ทดแทนได้

          การควบคุมโรกรากเน่าในสภาพไร่ ทดลองที่สวนเกษตร ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท ใช้สารเมทาแลคซิล 25%WP, เทอราโซล 24 %EC, อีทาบอกแซม รดดินรอบทรงพุ่มรัศมี 2 เมตร จำนวน 2 ครั้ง และใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปเชื้อสดในครั้งที่ 3 สามารถลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคในดินได้


ไฟล์แนบ
.pdf   1078_2551.pdf (ขนาด: 1.8 MB / ดาวน์โหลด: 768)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม