การศึกษาสารพิษตกค้างในผักผลไม้เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้างของประเทศไทย
#1
การศึกษาสารพิษตกค้างในผักผลไม้เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้างของประเทศไทย อาเซียนและโคเด็กซ์
ประภัสสรา พิมพ์พันธุ์, ศิริพันธ์ สุขมาก, วิสุทธิ เชวงศรี, สมสมัย ปาลกูล, ยงยุทธ ไผ่แก้ว, ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, จินตนา ภู่มงกุฏชัย, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ศศิมา มั่งนิมิตร์, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ, จินตนา แสนทวีสุข และบังเอิญ สีมา
กลุ่มงานวิจัยสารพิษตกค้าง กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 

          ศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในพืช ภายหลังที่มีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามอัตราแนะนำ เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้างในพืชอาหาร โดยได้ทำการทดลองรวมทั้งสิ้น 70 การทดลอง ในพืชส่งออกรวม 9 ชนิด ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบ พริก ถั่วเหลือง ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง และมังคุด สารที่ใช้ทดลองมี 3 ชนิด ได้แก่ ไซเปอร์เมทธริน แลมป์ดา-ไซฮาโลธริน และโปรฟีโนฟอส บนพื้นที่ปลูกของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ หลังจากฉีดพ่นครั้งสุดท้าย เก็บผลผลิตที่ระยะเวลาต่าง ๆ 6 - 8 ครั้ง มาตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างด้วยเทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี จากนั้นจึงนำข้อมูลการสลายตัวของสารพิษตกค้างไปกำหนดค่ามาตรฐานสารพิษตกค้างในพืชของประเทศไทย (National MRL) โดยประกอบกับข้อมูลทางพิษวิทยาและค่าปริมาณการบริโภคในหนึ่งวัน (ADI) จากนั้นได้นำข้อมูลงานวิจัยนี้ไปเสนอให้ที่ประชุม Asean Expert Working Group (Asean EWG) และ Codex Committee on Pesticide Residues (CCPR) พิจารณา ผลปรากฏว่าผลงานวิจัยศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างของกรมวิชาการเกษตรได้รับการยอมรับเป็นค่า Asean MRL และ Codex MRL จำนวน 12 ค่า เป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรไทย และภูมิภาคอาเซียน ที่ใช้สารเคมีเหล่านี้และมีสารพิษตกค้างไม่เกินค่า MRL สามารถส่งผลผลิตพืชดังกล่าวออกจำหน่ายยังตลาดโลกได้อย่างมั่นใจ


ไฟล์แนบ
.pdf   658_2551.pdf (ขนาด: 1,015.44 KB / ดาวน์โหลด: 476)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม