การสร้างเอกลักษณ์พันธุกรรมยางพารา การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์ยาง
#1
การสร้างเอกลักษณ์พันธุกรรมยางพารา การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์ยางแนะนำและพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิมโดยเทคนิค microsatellite และ RAPD
นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์, กัลยา ประพาน และกรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข

          การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์ยางแนะนำและพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิม โดยเทคนิค microsatellite และ RAPD มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเอาเครื่องหมายโมเลกุล microsatellite และ RAPD ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอของยางพันธุ์ปลูก พันธุ์ยางแนะนำ และพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิม ทำการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอยางพันธุ์ปลูกและพันธุ์ยางแนะนำของสถาบันวิจัยยางจำนวน 50 สายพันธุ์ และพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิมจำนวน 200 สายพันธุ์ สกัดดีเอ็นเอยางจากใบอ่อนโดยวิธี CTAB modified method เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่จำลองดีเอ็นเอ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล microsatellite จำนวน 40 คู่ไพร์เมอร์ และ RAPD จำนวน 20 ไพร์เมอร์ ตรวจสอบและวิเคราะห์ความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณด้วย microsatellite บน 5% acrylamide gel ย้อมสีด้วยวิธี silver staining ตรวจสอบและวิเคราะห์ความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณด้วย RAPD บน agarose gel ย้อมสีด้วย ethidium bromide ผลจากการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วย microsatellites พบว่ามี 4 คู่ไพร์เมอร์ คือ Mt67, M616, M622 และ M273 ไม่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้มี 6 คู่ไพร์เมอร์ คือ Ma31, Ma66, Ma17, M291, Ma212 และ Ma214 ที่เมื่อนำมาทำ PCR ในพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิมพบแถบดีเอ็นเอที่ซับซ้อน ไม่สามารถอ่านค่าแถบดีเอ็นเอที่ปรากฏด้วยตาเปล่าได้ microsatellite ที่ให้แถบดีเอ็นเอมากที่สุด คือ Ma179 โดยให้แถบดีเอ็นเอที่มีขนาดต่างกัน 15 แถบในพันธุ์ยางปลูก และ 31 แถบในพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิม microsatellite M264 ให้แถบดีเอ็นเอต่ำที่สุดจำนวน 2 แถบและเป็น monomorphic ในพันธุ์ยางปลูก จากการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ สรุปได้ว่าในพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิมมีจำนวนแถบดีเอ็นเอและความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอที่ได้มากกว่าพันธุ์ยางปลูก เมื่อนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอด้วย microsatellite ไปสร้างแผนภูมิความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม (dendrogram) สามารถจัดกลุ่มพันธุ์ยางปลูกออกได้เป็น 3 กลุ่ม และจัดพันธุ์ยางจากแหล่งกำเนิดเดิมได้เป็น 4 กลุ่ม ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แถบดีเอ็นเอของยางพันธุ์ปลูกและพันธุ์ยางแนะนำโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล RAPD จำนวน 18 ไพร์เมอร์ พบว่าแถบดีเอ็นเอส่วนใหญ่ของยางพันธุ์ปลูกที่ปรากฏบน agarose gel มีความแตกต่างกันน้อย ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการจำแนกความแตกต่างของพันธุ์ยางปลูก และข้อมูลแถบดีเอ็นเอที่ได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาจัดทำเป็น dendrogram เช่นกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   981_2551.pdf (ขนาด: 1.73 MB / ดาวน์โหลด: 648)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม