การเพิ่มคุณค่าสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้เพื่อพัฒนาสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม
#1
การเพิ่มคุณค่าสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้เพื่อพัฒนาสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม : พาหมี ทุเรียนเทศ ฝรั่งขี้นก และหมุย
นลินี จาริกภากร, เขมิกา โขมพัตร และสาวิตรี เขมวงศ์

          การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หมุย พาหมี ทุเรียนเทศและฝรั่งขี้นก ต่อความอยู่รอดของหนอนกระทู้ผัก ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2551 กำหนดการทดลอง 3 ซ้ำ ใช้แมลงทดสอบ 20 ตัว/ซ้ำ โดยใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด 7 ระดับความเข้มข้น คือ น้ำ 40% เอทานอล และอะซิโตน ที่ระดับความเข้มข้น 0, 100, 1,000, 5,000, 10,000, 50,000 และ 100,000 มิลลิกรัมน้ำหนักแห้งต่อตัวทำละลาย 1 ลิตร ประเมินผลทดสอบด้วยวิธี Oral application และ Topical application พบว่าประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด ในทุกตัวทำละลายและทุกความเข้มข้น ไม่มีความแตกต่างกันในการกำจัดหนอนกระทู้ผักวัยที่ 3 โดยพบว่าร้อยละความอยู่รอดของหนอนกระทู้ผัก อยู่ในช่วง 73.75 - 100 แสดงให้เห็นว่าสภาวะที่นำมาใช้ในการทดสอบอาจยังไม่เหมาะสมสำหรับสกัดสารสำคัญในตัวอย่างพืชสมุนไพร และหากต้องการนำสารสมุนไพรดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการเกษตร อาจต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุน


ไฟล์แนบ
.pdf   960_2551.pdf (ขนาด: 950.48 KB / ดาวน์โหลด: 596)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม