ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟศัตรูพริก
#1
ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟศัตรูพริก (Scirtothrips dorsalis Hood)
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, จีรนุช เอกอำนวย, ดำรง เวชกิจ, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการทดลองประสิทธิภาพของวิธีการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟและไรขาวพริก ที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2552 บนพื้นที่แปลงย่อยขนาด 2.4 X 16 เมตร จำนวน 2 ร่อง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้ พ่นสารแบบน้ำมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูงประกอบหัวฉีดกรวยกลวงแบบคานหัวฉีด 4 หัว และแบบแผ่นกระแสวนและรูฉีดแยกกัน (disc and core) อัตราพ่น 120 - 140 และ 100 - 120 ลิตร/ไร่ พ่นสารแบบน้ำมากและน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีดฝักบัวและหัวฉีด wizza อัตราพ่น 100 - 120 และ 20 - 40 ลิตร/ไร่ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร โดยพ่นสารป้องกันกำจัดไรขาวพริก amitraz (อมิทราซ 10 %SL) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร จำนวน 5 ครั้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ imidacloprid (คอนฟิดอร์ 10 %SL) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 ครั้ง พ่นสารทุก 7 วัน ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม อัตราพ่น 20-40 ลิตร/ไร่ เดินพ่นสารด้วยความกว้างแนวพ่นสาร 1.20 เมตร สามารถควบคุมไรขาวพริกและเพลี้ยไฟได้ดีใกล้เคียงกับกรรมวิธีการพ่นแบบน้ำมาก โดยปริมาณไรขาวพริกเฉลี่ยน้อยกว่าเล็กน้อย แต่ใช้เวลาการพ่นและเวลาเติมสารน้อยกว่า


ไฟล์แนบ
.pdf   1131_2552.pdf (ขนาด: 154.46 KB / ดาวน์โหลด: 357)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม