วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อน
#1
วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อน สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลลิ้นจี่เพื่อการส่งออก
รัชฎา อินทรกำแหง, อุดร อุณหวุฒิ, สลักจิต พานคำ, วลัยกร รัตนเดชากุล, 
วรัญญา มาลี, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, 
ชุติมา อ้อมกิ่ง และจารุวรรณ จันทรา 
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการเลี้ยงเพิ่มปริมาณแมลงวันผลไม้ Oriental Fruit Fly, Bactrocera dorsalis (Hendel) จำนวนมากด้วยอาหารเทียมในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการทดลองพบว่า สามารถเพิ่มปริมาณไข่ และหนอนของแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ได้ในจำนวนไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว ในห้องปฏิบัติการ การศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ในระยะไข่เปรียบเทียบกับระยะหนอนวัยที่ 1 และ 2 ในผลลิ้นจี่ด้วยวิธีการอบไอน้ำ (Vapor Heat Treatment, VHT) โดยวิธีการใส่ไข่ และหนอนวัยที่ 1 ของแมลงวันผลไม้ จำนวน 10 ฟอง/ตัวต่อผล และหนอนวัยที่ 2 จำนวน 5 ตัวต่อผล เข้าไปในผลลิ้นจี่โดยตรง (artificial inoculation) และนำไปอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ผลการทดลองพบว่า ในการอบผลลิ้นจี่ด้วยวิธีการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 45 นาที มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันผลไม้ในระยไข่ หนอนวัยที่ 1 และ 2 ได้โดยทั้ง 3 ระยะ มีอัตราการตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์ (จากการทดลองจำนวน 1 ซ้ำ)


ไฟล์แนบ
.pdf   1221_2552.pdf (ขนาด: 149.54 KB / ดาวน์โหลด: 441)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม