ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff)
#1
ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff)
รัตนา นชะพงษ์, อุราพร หนูนารถ และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff) ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2553 ดำเนินการรวบรวมมวนพิฆาตจากในแปลงปลูกพืชในแหล่งต่างๆแล้วนำมาเพาะเลี้ยง พร้อมทั้งเลี้ยงขยายหนอนนกด้วยอาหารไก่เพื่อใช้เป็นอาหารของมวนพิฆาต ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนพิฆาตระยะตัวอ่อนวัย 3 และวัย 5 ในห้องปฏิบัติการที่กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โดยในปี 2552 ทำการศึกษาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในกระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว กล่ำปลี และทานตะวัน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 23 กรรมวิธี คือ acetone และน้ำกลั่น (control) สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 21 ชนิดที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร คือ etofenprox 20 %EC อัตรา 50 มล., imidacloprid 10 %SL อัตรา 20 มล., buprofezin 10 %WP อัตรา 10 กรัม, carbosulfan 20 %EC อัตรา 50 มล., dinotefuran 10 %WP อัตรา 10 กรัม, fipronil 5 %SC อัตรา 20 มล., lambdacyhalothrin 2.5 %CS อัตรา 20 มล., betacyfluthrin 2.5 %EC อัตรา 40 มล., fenpropathrin 10 %EC อัตรา 20 มล., thiamethoxam-lambdacyhalothrin 24.7 %ZC อัตรา 10 มล., cypermethrin 35 %EC อัตรา 20 มล., clothianidin 16 %SG อัตรา 9 กรัม, triazophos 40 %EC อัตรา 40 มล. amitraz 20 %EC อัตรา 30 มล., novaluron 10 %EC อัตรา 20 มล., indoxacarb 15 %SC อัตรา 15 มล., spinosad 12 %SC อัตรา 20 มล., emamactin benzoate 1.92 %EC อัตรา 10 มล., lufennuron 5 %EC อัตรา 10 มล., chlorfenapyr 10 %SC อัตรา 20 มล., diafenthiuron 25 %SC อัตรา 40 มล. ทดสอบความเป็นพิษของสารโดยการเคลือบ acetone และน้ำกลั่น (control) และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชภายในหลอดแก้วทดลองแล้วปล่อยให้มวนพิฆาตสัมผัสสารฯ ผ่านเข้าสูร่างกายนาน 48 ชั่วโมง หยดน้ำกลั่น acetone และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในหลอดแก้วทดลอง 1 ชนิด/2 หลอด/ซ้ำ ใส่มวนเพชฌฆาตจำนวน 5 ตัว/หลอด/วัย ใช้มวน 10 ตัว/วัย/ซ้ำ พร้อมใส่ดักแด้หนอนนกเพื่อเป็นอาหารแก่มวนพิฆาต

          ผลการทดสอบหลังจากมวนพิฆาตระยะตัวอ่อนวัย 3 สัมผัสสารฯนาน 48 ชั่วโมง พบว่า สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีพิษต่อมวนพิฆาตระยะตัวอ่อนวัย 3 (ทำให้มวนพิฆาตตาย < 30 %) มี 5 ชนิด คือ lufennuron 5 %EC, novaluron 10 %EC, buprofezin 10 %WP, fipronil 5 %SC และ amitraz 20 %EC ส่วนสารที่มีพิษน้อยต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนพิฆาตตาย 30–79 %) มี 6 ชนิด คือ emamactin benzoate 1.92 %EC, diafenthiuron 25 %SC, lambdacyhalothrin 2.5 %CS, chlorfenapyr 10 %SC, spinosad 12 %SC และ betacyfluthrin 2.5 %EC สำหรับสารที่มีพิษปานกลางต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนตาย 80–99 %) มี 5 ชนิด คือ cypermethrin 35 %EC, imidacloprid 10 %SL, indoxacarb 15 %SC, etofenprox 20 %EC และ clothianidin 16 %SG และสารที่มีพิษร้ายแรงต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนตาย > 99 %) มี 5 ชนิด คือ carbosulfan 20 %EC, dinotefuran 10 %WP, fenpropathrin 10 %EC, thiamithoxam-lambdacyhalothrin 24.7 %ZC และ triazophos 40 %EC

          หลังจากมวนพิฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 สัมผัสสารฯนาน 48 ชั่วโมง สรุปได้ว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีพิษต่อมวนพิฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 (ทำให้มวนพิฆาตตาย< 30 %) มี 3 ชนิดคือ novaluron 10 %EC, diafenthiuron 25 %SC และ amitraz 20 %EC ส่วนสารที่มีพิษน้อยต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนตาย 30 – 79 %) มี 5 ชนิด คือ emamactin benzoate 1.92 %EC, lufennuron 5 %EC, buprofezin 10 %WP, fipronil 5 %SC และ chlorfenapyr 10 %SC สำหรับสารที่มีพิษปานกลางต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนตาย 80 – 99 %) มี 4 ชนิด คือ clothianidin 16 %SG, spinosad 12 %SC, imidacloprid 10 %SL, lambdacyhalothrin 2.5 %CS, สารที่มีพิษร้ายแรงต่อมวนพิฆาต (ทำให้มวนตาย> 99%) มี 9 ชนิด คือ etofenprox 20 %EC, carbosulfan 20 %EC, dinotefuran 10 %WP, betacyfluthrin 2.5 %EC, fenpropathrin 10 %EC, thiamithoxam-lambdacyhalothrin 24.7 %ZC, cypermethrin 35 %EC, indoxacarb 15 %SC และ triazophos 40 %EC


ไฟล์แนบ
.pdf   1158_2552.pdf (ขนาด: 184.4 KB / ดาวน์โหลด: 565)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม