การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
#1
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, ศรีสุดา รื่นเจริญ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, รัฐกร สืบคำ และพัชรินทร์ นามวงษ์
ศูนย์วิจัยพืชไรํชัยนาท และกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

       การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียวพบว่า การใส่ปุ๋ยเคคมีอัตรา 7.5-5-5, 15-5-5, 22.5-5-5, 15-0-5, 15-2.5-5, 15-5-0 15-52.5 และ 15-5-7.5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ให้น้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือก และน้ำหนักฝีกอ่อนปอกเปลือกไม่แตกต่างทางสถิติ แต่สูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 0-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 22.5-5-5 และ 15-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำหนักฝักปอกเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 7.5-5-5 และ 0-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) และผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก และปอกเปลือกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงกว่า 1.5 เท่า ตามค่าวิเคราะห์ไนโตรเจน 22.5-5-5 (กก.N-P2O5-K2O/ไร่) ขณะที่การตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ให้ค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ

          การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ดินร่วน - ร่วนปนทรายพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียม ที่ระดับสูงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตจำนวนฝัก น้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือก น้ำหนักฝักอ่อนปอกเปลือกสูงสุด แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในอัตรา 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนลดลงอย่างเห็นได้ชัด การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ระดับ 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ K 15-5-15 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกลดลงจากการให้ปุ๋ย 1 เท่าตามค่าวิเคราะห์ดิน 15-4-10 กก.N-P2O5-K2O/ไร่

          การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียวพบว่า การใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา ให้ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,829 - 1,993 และ 1,801-2,025 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมทั้งหมดในต้นและเปลือกของข้าวโพดฝักอ่อน พบว่าทุกกรรมวิธีทั้งการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช และการใส่ปุ๋ยทุกอัตราไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยมูลวัวมีปุ๋ยมูลวัวมีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ แต่สูงกว่าการใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน+กากตะกอนอ้อย และการใส่หรือไม่ใส่เศษซากพืช มีปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในฝักไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่กรรมวิธีการใส่หรือไม่ใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยทุกอัตรา มีปริมาณไนโตรเจน และมีปริมาณฟอสฟอรัสไม่แตกต่างกันทางสถิติ

          การใช้ปุ๋ยอย่างผสมผสานในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินร่วน-ร่วนปนทรายพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพีจีพีอาร์กับการจัดการปุ๋ยแบบต่างๆ แต่การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัว ทำให้ข้าโพดเจริญเติมโต ผลผลิตฝัก น้ำหนักแห้งตอซัง ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และดพแทสเซียมในฝัก ตอซัง และเปลือกไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ดังนั้น การใส่ 0.5 เท่าปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับน้ำล้างคอกวัวนม จึงเป็นการลดการใช้ไนดตรเจนลง ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (VCR) จากการใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสูงสุด

          การให้น้ำในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียว พบว่า ปีที่ 1 และปีที่ 2 ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยในส่วนของน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือก โดยปีที่ 1 การให้น้ำทุกอัตรา ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกและน้ำหนักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติในกรรมวิธีการใส่ปุ๋ย โดยการใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 ให้น้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใส่ปุ๋ย 7.5-2.5-2.5 และ 3.75-5-5 ร่วม 3.75-0-0 ปีที่ 2 การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่า 7.5-2.5-2.5 และการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่การใส่ปุ๋ย 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 และ 15-5-5 ให้น้ำหนักปอกเปลือกสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานของพืชพบว่า ไม่มีปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างการให้น้ำและอัตราปุ๋ย การให้น้ำทุกอัตราให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ย 15-5-5 และ 3.75-7.5-7.5 ร่วม 3.75-0-0 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ

          การใช้ประโยชน์จากเศษซากข้าวโพดต่อข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกตาม ผลของการปลุกข้าวโพดฝักอ่อนตามของ crop 2 และ crop 3 พบว่า ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการใส่ซาก และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ข้าวโพดฝักอ่อน crop ที่ 2 เมื่อมีการใส่หรือไม่ใส่ซากข้าวโพดฝักอ่อน มีน้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20 - 40 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักฝักอ่อนทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 33 - 42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ น้ำหนักฝักปอกเปลือกให้ผลในทำนองเดียวกับน้ำหนักทั้งเปลือก โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณ 31-35 เปอร์เซ็นต์

          ระบบการผลิตและการตลาดข้าวโพดฝักอ่อนในภาคกลางและภาคตะวันตก จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจำนวน 87 ราย แยกเป็นเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 54 ราย จังหวัดราชบุรีจำนวน 19 ราย และจังหวัดนครปฐมจำนวน 14 ราย ผลการสัมภาษณ์พบว่า การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ในการปลูก ไม่เคยติดต่อหน่วยงานราชการเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนครั้งที่ 1 ไถเตรียมดินและยกร่องปลูก ระยะปลูก 50 x 30-35 เซนติเมตร ปลุกแบบสลับฟันปลา หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม ไม่มีการถอนแยกปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นครั้งที่ 2 - 4 ไม่มีการไถพรวน ใช้วิธีการยกร่องน้ำของครั้งที่ผ่านมาเป็นร่องปลูก และใช้ร่องปลูกเป็นร่องน้ำสลับกันไป พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้ปลุกคือ พีเอ 271 เอสจี 17 และพันธุ์ซีพี 468 การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อนให้แบบร่องปลูก (flowrow) และสปริงเกอร์ใส่ปุ๋ยโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อข้าวโพดมีอายุ 15 - 20 วันหลังปลุก และครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 40 - 45 วัน หรือช่วงก่อนออกช่อดอกตัวผู้ ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือก เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,000 - 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตปอกเปลือกเฉลี่ยระหว่าง 184 - 400 กิโลกรัมต่อไร่ การจำหน่ายข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร มี 3 รุปแบบ คือ ฝักอ่อนทั้งเปลือก ฝักอ่อนปอกเปลือกหรือกรีดเปลือยและฝักอ่อนกรีดฝักทำหัวโต จากการสำรวจทัศนคติเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากใช้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม และมีการใช้สารเคมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นแต่มีเกษตรกรจำนวน 18.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ความเห็นว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่ไม่ทราบว่าจะปลูกพืชอะไร และใช้ผลพลอยได้ต้นสดสำหรับเลี้ยงโคนม ส่วนเกษตรกรอีก 22.9 เปอร์เซ้นต์ ให้ความเห็นว่า ไม่แน่ใจว่าคุ้มทุนหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต และเป็นเกษตรกรรายใหม่เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรก


ไฟล์แนบ
.pdf   9_2555.pdf (ขนาด: 432.74 KB / ดาวน์โหลด: 1,729)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม