การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR
#1
การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR
ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, อิศเรส เทียนทัด และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          จากคัดเลือกเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ของกรมวิชาการเกษตรที่สามารถควบคุมหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักได้มากกว่า 80% จำนวน 11 และ 153 isolate ตามลำดับ นำมาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่า โคโลนีมีสีขาวขุ่น ผิวด้าน ขอบไม่เรียบ ขนาดประมาณ 0.5 - 0.8 เซนติเมตร เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหาร NB 72 ชั่วโมงพบว่า เชื้อทั้งหมดสร้างผลึกโปรตีนเป็นรูป พีระมิดคู่ (Bipyramid) ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ปะปนกัน และเชื้อบางไอโซเลท มีผลึกโปรตีนทั้งรูป bipyramid และ rhomboid ปะปนกัน เมื่อนำไปทดสอบกับหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักวัย 2 พบว่า ไม่มี isolate ใดสามารถทำให้หนอนกระทู้หอมตายมากกว่า 80% มี 63 isolate ที่ท าให้หนอนกระทู้ผักตายตั้งแต่ 80% ทดลองนำเชื้อ 5 isolate ไปตรวจสอบด้วยวิธี PCR จากนั้นนำไปตรวจสอบด้วยวิธี electrophoresis พบว่าเชื้อทั้ง 5 isolate มี cry โปรตีนเป็นชนิด Cry 1AC ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถควบคุมหนอนผีเสื้อได้ดี


ไฟล์แนบ
.pdf   216_2556.pdf (ขนาด: 385.65 KB / ดาวน์โหลด: 1,320)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม