โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
#1
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
อรรัตน์ วงศ์ศรี, เกริกชัย ธนรักษ์, ชุมพล เชาวนะ, สุวิมล กลศึก, ยิ่งนิยม ริยาพันธ์, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, เพ็ญศิริ จำรัสฉาย, สายชล จันมาก, อรุณี ใจเถิง, กาญจนา ทองนะ, ธำรง  เชื้อกิตติศักดิ์, สมใจ โควสุรัตน์, จำลอง กกรัมย์, พสุ สกุลอารีวัฒนา และจิราพรรณ สุขชิต

          การวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน รอบที่ 2 ได้คัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันจากแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมที่มีลักษณะการผลิตที่ดี (family Selection) และมีประวัติการให้ลูกผสมดีเด่น และคัดเลือกต้นพ่อและแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีได้ตามมาตรฐาน (Individual selection) ได้ต้นพ่อพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธุ์ AVROS, Tanzania, Yangambi, La Me, Ghana, Ekona, Calabar, La Me-AVROS, La MeCalabar, DAMI-AVROS, Nigeria-Yangambi, Nigeria-AVROS และ Yangambi-AVROS และต้นแม่พันธุ์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Deli Dura, Kazemba (African Dura) และ  Deli-Ekona composite ทำการสร้างคู่ผสม (D x T) จำนวน 69 คู่ผสม ปลูกทดสอบเพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่ดีเด่น ผลการดำเนินงาน ได้คัดเลือกคู่ผสมหมายเลข 198 (Deli x Tanzania) เสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ชื่อว่า ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ที่มีลักษณะดี สามารถให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย (อายุ 3 - 10 ปี) 4,141  กก./ไร่/ปี โดยช่วงแรก (อายุ 3 - 4 ปี)  ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย  2,410 กก./ไร่/ปี  ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ (อายุ 5 - 10 ปี) ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4,718 กก./ไร่/ปี และในปี 2556 ได้ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 8 เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร มีลักษณะดีเด่นคือ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,543 กก./ไร่/ปี (อายุ 4 - 7 ปี), โดยช่วงแรก (อายุ 3 - 4 ปี)  ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย  1,842 กก./ไร่/ปี  ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ (อายุ 5 - 9 ปี) ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4,509 กก./ไร่/ปี น้ำมันต่อทะลาย 24.8%, ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 878.7 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 12.3 เปอร์เซ็นต์ และได้คัดเลือกพันธุ์ลูกผสม ที่ให้ผลผลิตทะลายสดและน้ำมันสูง อีก 1 พันธุ์ คือ คู่ผสมหมายเลข 303 (Deli x DAMI-AVROS) เพื่อเสนอขอการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์แนะนำ มีลักษณะดีเด่นคือ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,875 กก./ไร่/ปี (อายุ 3 - 10 ปี), น้ำมันต่อทะลาย 25.4% , ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 984 กก./ไร่/ปี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

          แปลงแม่พันธุ์ที่ได้จากการผสมตัวเอง (D–Self) (รหัสแปลงBRD 033) ได้คัดเลือกสายพันธุ์แม่หมายเลข 236, 242, 220, 218, 203 และ 292 เป็นแม่พันธุ์สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์  จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์มาตรฐาน (Individual Selection) ทำการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์จากประชากรสายพันธุ์) หมายเลข 236 (91/1617D) ได้จำนวน 59 ต้น  จากสายพันธุ์หมายเลข 242 (79/339D) จำนวน 91 ต้น  จากสายพันธุ์หมายเลข 220 (67/521D) ได้จำนวน 218 ต้น  จากสายพันธุ์หมายเลข 218 (75/1319D จำนวน 79 ต้น จากสายพันธุ์หมายเลข 203 (78/193D) จำนวน 170 ต้น  จากสายพันธุ์หมายเลข 292 (68/374D) จำนวน 138 ต้น  ในส่วนของพ่อพันธุ์ที่ได้จากการผสมตัวเอง  ได้คัดเลือกสายพันธุ์พ่อ 159/398  สายพันธุ์ 132/1415 และสายพันธุ์ 125/154 สายพันธุ์พ่อและแม่เหล่านี้ เป็นการคัดเลือกตามผลการทดสอบรุ่นลูก  เนื่องจากมีประวัติพันธุ์เป็นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ของลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7, 8 และสายพันธุ์ก้าวหน้าหมายเลข 303 ที่ดีเด่นดังกล่าว (Based on progeny performance) สายพันธุ์ 129/1426 ซึ่งได้จากการผสมตัวเองมีประวัติพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์ของลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 จึงคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นรายต้น (Individual Selection) เพื่อเก็บรวบรวมละอองเกสรสำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์  ซึ่งคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์จากประชากรสายพันธุ์ 159/398 ได้จำนวน 13 ต้น สายพันธุ์ 132/1415 ได้จำนวน 13 ต้น สายพันธุ์ 125/154 ได้จำนวน 9 ต้น สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 และ 8 และคู่ผสมพันธุ์ก้าวหน้า 303 นอกจากนี้สายพันธุ์ 129/1426 คัดเลือกต้นพ่อพันธุ์จากประชากรสายพันธุ์ 129/1426 ได้จำนวน 15 ต้น สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   51_2558.pdf (ขนาด: 1.01 MB / ดาวน์โหลด: 2,889)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม