การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉพาะพื้นที่
#1
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉพาะพื้นที่
ดาวรุ่ง คงเทียน, อมรา ไตรศิริ, สมชาย บุญประดับ, ศุภกาญจน์  ล้วนมณี, สาธิต อารีรักษ์, อารีรัตน์ พระเพชร, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุสอน, อรรณพ กสิวิวัฒน์, ปรีชา แสงโสดา, รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, อภิชาต เมืองซอง, พินิจ กัลยาศิลปิน, นิภาภรณ์ พรรณรา, นงลักษ์ ปั้นลาย, สายชล แสงแก้ว, กิตติภพ วายุภาพ, วิภารัตน์ ดำริตระกูลเข้ม, วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ, สมสิทธิ์ จันทรักษา, ธำรง ช่วยเจริญ, ปัญญา ธยามานนท์, ชอุ่ม ออไอศูรย์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, สรศักดิ์ มณีขาว, บุญชู สายธนู, โสภิตา สมคิด, สุทธิดา บูชารัมย์, สุนทรีย์  มีเพ็ชร, นิรมล ดำพะธิก, อรอนงค์ วรรณวงศ์, บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, ประเวศน์  ศิริเดช, อานนท์ มลิพันธุ์, ศักดิ์เศวต เศวตเวช, วุฒิ นิพนธ์กิจ, สุจิตร ใจจิตร, ละเอียด ปั้นสุข, พีชณิตดา ธารานุกูล, ยุวลักษณ์ ผายดี, สุมิตรา เภสัชชา, นิชุตา คงฤทธิ์ และจิระ อะสุรินทร์

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉพาะพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมทนทานแล้งที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่ ได้ดำเนินการใน 4 ภาค ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดภายในประเทศ การทดสอบปัจจัยการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่สภาพไร่ พื้นที่ก่อนนา และพื้นที่หลังนาในเขตภาคเหนือตอนล่าง พบว่าการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับพื้นที่สภาพไร่ ใช้ระยะปลูก 75 x 20 ซม. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก./ไร่ และระยะปลูก 75 x 20 ซม. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 10 กก./ไร่ ในพื้นที่ก่อนนา ใช้ระยะปลูก 70 x 20 ซม. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก./ไร่ และในพื้นที่หลังนาที่มีสภาพแวดล้อมดี ใช้ระยะปลูก 70 x 20 ซม. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก./ไร่ แต่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ใช้ระยะปลูก 75 x 20 ซม. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก./ไร่ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 7 และมีรายได้เฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าวิธีเกษตรกร  ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาโดยอาศัยน้ำใต้ดินพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3  ไม่แตกต่าง แต่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวิธีเกษตรกร มีผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน การทดสอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ในจังหวัดอุบลราชธานีพบว่า ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าพันธุ์การค้า แต่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากต่อลักษณะสีเมล็ด การติดเมล็ดลึก เก็บเกี่ยวง่าย และราคาเมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์การค้าในท้องตลาด จังหวัดยโสธรเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา การปรับปรุงดินเค็มด้วยปุ๋ยคอกและแกลบดิบตามอัตราที่กำหนด ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตรมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าวิธีเกษตรกร การทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบบูรณการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อพันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ให้ผลผลิตดี สีสวย มีการตอบสนองปุ๋ย ราคาถูก และมีลำต้นแข็งแรง และการจัดการปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรให้ผลตอบแทนและค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดในพื้นที่ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าการใชปุ๋ยเคมีตามลักษณะเนื้อดินของกรมวิชาการเกษตรกร ให้ผลผลิตข้าวโพดสูงกว่าวิธีเกษตรกร และการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมทนทานแล้งพันธุ์นครสวรรค์ 3 โดยการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตข้าวโพดสูงกว่าวิธีเกษตรกร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมทนทานแล้งพันธุ์นครสวรรค์ 3 มีการตอบสนองและมีศักยภาพการผลิตเหมาะสมกับชุดดินลพบุรี ชุดดินสมอทอด และชุดดินตาคลี


ไฟล์แนบ
.pdf   55_2558.pdf (ขนาด: 4.29 MB / ดาวน์โหลด: 1,853)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม