ทดสอบพันธุ์ มันสำปะหลังที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่จังหวัดชัยนาท
#1
ทดสอบพันธุ์ มันสำปะหลังที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่จังหวัดชัยนาท
ศักดิ์ดา เสือประสงค์, จันทนา ใจจิตร, อรัญญา ภู่วิไล, ละเอียด ปั้นสุข และเครือวัลย์ บุญเงิน
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          การทดสอบพันธุ์มันสำประหลังที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ จังหวัดชัยนาทมีวัตถุประสงค์ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่เกษตรกรให้ได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งจะสอดคล้องกับการเพิ่มผลผลิตการส่งออก จาการวิเคราะห์พื้นที่และประเด็นปัญหาการผลิตมันสำปะหลังจึงนำเทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตร มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 11 เปรียบเทียบกับพันธุ์ห้วยบง 60 ที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิมในสภาพเดินร่วนปนทราย ซึ่งพบว่าพันธุ์ที่นำมาทดสอบ ผลผลิตยังต่ำกว่าพันธุ์ห้วยบง 60 สาเหตุได้รับปริมาณน้ำน้อยมาก ด้านต้นทุนผันแปร เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีปริมาณน้อยมากส่วนกรรมวิธีทดสอบใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่าทำให้ต้นทุนสูงในจุดนี้ ส่งผลถึงรายได้สุทธิต่ำลง สำหรับเปอร์เซ็นต์แป้ง พบว่ากรรมวิธีทดสอบพันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 11 ให้ค่าเฉลี่ย สูงกว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ของเกษตรกร แต่เมื่อพิจารณาค่า BCR ทั้งสองกรรมวิธี ยังสามารถลงทุนต่อไปได้ หลังจากสิ้นสุดการทดสอบในพื้นที่แปลงเกษตรกรจากการออกแบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อพันธุ์  มันสำปะหลัง พบว่าเกษตรกรให้ความสนใจ พันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 11 ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และลักษณะดินร่วนปนทรายในเขตน้ำฝน อย่างเหมาะสม


ไฟล์แนบ
.pdf   48_2557.pdf (ขนาด: 169.4 KB / ดาวน์โหลด: 797)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม