การทดสอบพันธุ์ฝ้ายในพื้นที่จังหวัดแพร่
#1
การทดสอบพันธุ์ฝ้ายในพื้นที่จังหวัดแพร่
พรรณพิมล สุริยะพรหมชัย, ปริญญา สีบุญเรือง, ประนอม ใจอ้าย, สุทธินี เจริญคิด และสากล มีสุข
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

          การทดลองการทดสอบพันธุ์ฝ้ายในพื้นที่จังหวัดแพร่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตฝ้าย จะทำให้ทราบข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติการรับเทคโนโลยีของเกษตรกร  อันนำไปสู่การปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเกษตรกรต่อไป  ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2556 - 2557 ที่ที่บ้านนาไร่เดียว ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่  ผลการทดลองพบว่า ฝ้ายพันธุ์ทดสอบ (ตากฟ้า84-4) และพันธุ์เกษตรกรเริ่มงอก 3 วันหลังปลูก  ฝ้ายพันธุ์ทดสอบจะมีระยะดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ ระหว่าง 53 - 60 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์เกษตรกร 1 - 2 วัน  ส่วนระยะสมอแตก 50 เปอร์เซ็นต์ พบว่า  พันธุ์ทดสอบมีระยะสมอแตก 50 เปอร์เซ็นต์ อยู่ 113 - 120 วัน และพันธุ์เกษตรกร 114 - 122 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์เกษตรกร 1 - 2 วัน  การตรวจเช็คเปอร์เซ็นต์โรคใบหงิกนั้น ไม่พบอาการโรคใบหงิกในแปลงทดลอง  สำหรับจำนวนสมอต่อต้น  ความสูงต้น  และน้ำหนักฝ้ายปุยทั้งเมล็ดต่อสมอพบว่า  ความสูงของฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า84-4 มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 67.5 - 94.7 เซนติเมตร สูงกว่าพันธุ์เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 5.3 - 36.4  จำนวนสมอต่อต้นของพันธุ์ตากฟ้า84-4 มีสมอต่อต้น 5 - 10 สมอ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ของเกษตรกรร้อยละ 40.0 - 75.0  ส่วนผลผลิตของฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า84-4 มีค่าเฉลี่ย 72 - 147 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ฝ้ายของเกษตรกรร้อยละ 41.7 - 76.3  ส่งผลให้รายได้จากพันธุ์ตากฟ้า84-4 มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 41.7 - 76.5  ส่วนต้นทุนของพันธุ์เกษตรกรสูงกว่าพันธุ์ตากฟ้า84.4 คิดเป็นร้อยละ 0.97 - 6.52  ทำให้ค่า BCR ของพันธุ์ตากฟ้า84-4 มากกว่าพันธุ์เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 45.3 - 77.4


ไฟล์แนบ
.pdf   136_2557.pdf (ขนาด: 102.72 KB / ดาวน์โหลด: 576)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม