การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
#1
การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม
ทิพยา ไกรทอง, ปริญดา หรูนหีม, บุญเกื้อ ทองแท้ และอรพิน  หนูทอง 
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7

          การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เพื่อให้ได้กรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ปลูกใหม่ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร  วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย  กรรมวิธีที่ 2  ใส่ปุ๋ยหมัก 20 กก./ต้น/ปีในปีแรก และ 60 กก./ต้น/ปี ในปีที่ 2 - 3 (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าผลการวิเคราะห์ดินและใบพืชในการเพิ่ม/ลด อัตราปุ๋ย)  กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม (GAP) กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน + พืช และกรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร พบว่าด้านผลผลิต  ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมจากการใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน + พืช และจากการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นมากที่สุด ด้านส่วนประกอบของผลก็เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักผล น้ำหนักเนื้อ น้ำหนักกะลาและน้ำหนักน้ำมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ ส่วนความหวานของน้ำมะพร้าวเฉลี่ย 6% บริกซ์ โดยกรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม ความหวานของน้ำมะพร้าว 6.16 %บริกซ์ ส่วนต้นทุนการผลิตนั้นกรรมวิธีที่ 3 ต้นทุนการผลิตสูงที่สุดส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ยเคมี และผลตอบแทน กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน + พืช ให้ผลตอบแทนเป็นกำไรสุทธิมากที่สุด ซึ่งการปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ผลผลิตสูงนอกจากพันธุ์ การดูแลรักษา จัดการด้านธาตุอาหาร  นอกจากนั้นปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อม ฝน อุณหภูมิ ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   157_2557.pdf (ขนาด: 290.57 KB / ดาวน์โหลด: 1,383)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม