การทดสอบและพัฒนาปูพลาสติคคลุมดินสำหรับการปลูกพริกในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
#1
การทดสอบและพัฒนาปูพลาสติคคลุมดินสำหรับการปลูกพริกในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ธีรศักดิ์  โกเมฆ, สนอง  อมฤกษ์, เวียง อากรชี และขนิษฐ์ หว่านณรงค์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น

          ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกพริกและพืชอื่นๆที่ปลูกโดยใช้วัสดุคลุมดินประสบปัญหาในขั้นตอนการคลุมดินโดยเฉพาะการปูพลาสติกเนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานและยังประสบปัญหาในการสิ้นเปลืองเวลาในการยกร่องโรยสายน้ำหยดและเกษตรกรในพื้นที่ขนาดเล็กประสบปัญหาใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ไม่สะดวกคณะผู้วิจัยจึงได้ทดสอบและพัฒนาเครื่องปูพลาสติคเพื่อให้ได้แนวทางการใช้งานเครื่องปูพลาสติคที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ของเครื่องครื่องปูพลาสติกทั้ง 3 ชนิดที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆคือแบบติดพ่วงรถแทรกเตอร์ซึ่งเหมาะกับพลาสติกหน้ากว้างตั้งแต่ 100 - 150 เซนติเมตร ซึ่งสามารถยกร่องและโรยสายน้ำหยดได้ในการวิ่งเพียงครั้งเดียวใช้ความเร็วการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์เฉลี่ย 0.5 เมตร/วินาที พบว่าการทำงานมีอัตราการทำงาน สูงสุด 0.56 ไร่ ต่อชั่วโมง อัตราการใช้เชื้อเพลิง 2.04  ลิตร/ไร่ ต้นทุน 194.8  บาท/ไร่ แบบติดท้ายรถไถเดินตามเหมาะกับพลาสติกหน้ากว้างตั้งแต่ 100 - 150 เซนติเมตรใช้ความเร็วการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์เฉลี่ย 0.5 เมตร/วินาที พบว่าการทำงาน ความสามารถการทำงาน 0.47 ไร่ ต่อชั่วโมง อัตราการใช้เชื้อเพลิง 1.28  ลิตร/ไร่ ต้นทุน 222.9  บาท/ไร่ และแบบใช้ต้นกำลังเบนซินสูบเดียว เหมาะกับพลาสติกหน้ากว้างตั้งแต่ 80 - 120 เซนติเมตร ใช้ความเร็วการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์เฉลี่ย 0.5 เมตร/วินาที พบว่าการทำงาน ความสามารถการทำงาน  0.51 ไร่ ต่อชั่วโมง อัตราการใช้เชื้อเพลิง 0.79  ลิตร/ไร่ ต้นทุน 170.6 บาท/ไร่ และเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบกับการใช้แรงงานคนปูพลาสติคและการใช้แรงงานคนคลุมวัสดุอินทรีย์แบบดั้งเดิมพบว่า ด้านสมรรถนะการทำงานการคลุมแปลงด้วยเครื่องปูพลาสติคสมรรถนะการทำงานสูงที่สุดด้านผลผลิต พืชที่ปลูกโดยคลุมแปลงด้วยเครื่องปูพลาสติคได้ผลผลิตสูงที่สุดด้านปริมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืช พืชที่ปลูกโดยคลุมแปลงด้วยเครื่องปูพลาสติคใช้ต้นทุนด้านสารกำจัดศัตรูพืชต่ำที่สุด สามารถลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้และต้นทุนด้านแรงงาน การคลุมแปลงด้วยเครื่องปูพลาสติคใช้ต้นทุนด้านแรงงานต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียง 2 คน


ไฟล์แนบ
.pdf   174_2557.pdf (ขนาด: 545.5 KB / ดาวน์โหลด: 1,028)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม