ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคกลาง
#1
ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคกลาง
วราพร ไชยมา, อนุสรณ์ วัฒนกุล และนายกรกช จันทร
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อขยาย พบว่า เชื้อเห็ดร่างแหสามารถเจริญดีได้เพียงสูตรที่ 4 ซึ่งประกอบด้วย ข้าวฟ่าง 98% + ยิปซั่ม 1% + น้ำตาล 1% จากนั้นนำมาใช้ในการผลิตเชื้อขยายในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อย 94% + รำละเอียด 5% + ดีเกลือ 0.2% + ปูนขาว 0.8% ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแบบพลาสเจอร์ไรซ์ บรรจุในถุงพลาสติก ปริมาณ 500 กรัม พบว่าเส้นใยเห็ดร่างแหสามารถเจริญเต็มวัสดุหรือเต็มถุง หลังบ่มเลี้ยงใช้เวลาเฉลี่ย 41.56 วัน จึงนำเชื้อขยายที่ได้มาศึกษาการเกิดดอกต่อไป

          การศึกษาหาวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเกิดดอก ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติก พบว่าเห็ดร่างแหสามารถออกดอกและเก็บผลผลิตได้ ในอาหารสูตร 3 ซึ่งประกอบด้วย ฟางข้าว 47% + ขุยมะพร้าว 47% + รำละเอียด 5% + ปูนขาว 1% ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 576.6 กรัมต่อตะกร้า (B.E% = 23.16) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในสูตร 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 572.6 กรัมต่อตะกร้า ส่วนในสูตร 2 ไม่พบการเจริญของเส้นใยเห็ดร่างแห 

          การศึกษาการเพาะเห็ดร่างแหในแปลงปลูกขนาดเล็ก ภายในโรงเรือน ผลการศึกษาพบว่า เห็ดร่างแหสามารถออกดอกและเก็บผลผลิตได้ ในอาหารสูตรประกอบด้วย ฟางข้าว 47% + ขุยมะพร้าว 47% + รำละเอียด 5% + ปูนขาว 1% เส้นใยใช้เวลาเจริญเต็มวัสดุเพาะ เฉลี่ย 30.0 วัน ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้ คือ 1,118.4 กรัมต่อแปลง 

          การศึกษาในแปลงปลูกแบบอิฐบล็อก (กลางแจ้ง) หลังจากโรยเชื้อได้ประมาณ 29.25 วัน เส้นใยเห็ดร่างแหสามารถเจริญคลุมเต็มผิวหน้าวัสดุเพาะ จึงทำการคลุมผิวหน้าด้วยดินผสมปูนขาว 1% เช่นเดียวกันกับการทดลองในแปลงวงบ่อ เห็ดร่างแหเริ่มสร้างตุ่มดอกหลังการคลุมดิน ใช้เวลาประมาณ 15 วัน จากนั้นจะพัฒนาเจริญจนเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้ คือ 1,643.75 กรัมต่อแปลง 


ไฟล์แนบ
.pdf   202_2557.pdf (ขนาด: 433.19 KB / ดาวน์โหลด: 1,997)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม