ศึกษาการเพาะเห็ดต่งฝนบนวัสดุเพาะต่างๆ
#1
ศึกษาการเพาะเห็ดต่งฝนบนวัสดุเพาะต่างๆ
สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ และรัชฎาภรณ์ ทองเหม
กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ศึกษาการเพาะเห็ดต่งฝนบนอาหารเพาะที่มีวัสดุเพาะหลักต่างกัน 5 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ขี้เลื่อย สูตรที่ 2 ฟางหมักด้วยมูลวัว  สูตรที่ 3 ฟางหมักด้วยยูเรีย  สูตรที่ 4 เปลือกข้าวโพดหมักด้วยมูลวัว และสูตรที่ 5 เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยูเรีย เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ด ใช้เพาะเห็ดต่งฝนในปี 2556 – 2557 จำนวน 3 รอบการผลิตต่อปี พบว่าเส้นใยเห็ดต่งฝนเจริญได้บนวัสดุเพาะทั้ง 5 สูตร ในปี 2556  การเพาะชุดที่ 1 เส้นใยเห็ดต่งฝนเจริญเต็มถุงอาหารเพาะและออกดอกให้ผลผลิตรวมระหว่าง 225 - 420 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย  46.6 - 84.0 กรัม/วัสดุเพาะ 3 กก. ค่า % B.E.ระหว่าง 2.65 - 10.36   ชุดที่ 2 ผลผลิตรวมระหว่าง 225 - 635 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 51.0 - 127.0 กรัม/วัสดุเพาะ 3 กก. ค่า% B.E.ระหว่าง 5.39 - 18.04 และชุดที่ 3 ผลผลิตรวมระหว่าง 690 - 1098 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 138.0 - 219.6 กรัม/วัสดุเพาะ 3 กก. ค่า % B.E.ระหว่าง 15.71 - 27.67  สำหรับปี 2557 ชุดที่ 1 เส้นใยเห็ดต่งฝนเจริญเต็มถุงอาหารเพาะและออกดอกให้ผลผลิตรวมระหว่าง 2607 - 4578 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย  521.4 - 915.6 กรัม/วัสดุเพาะ 4 กก. ค่า % B.E.ระหว่าง  68.76 - 115.81  ชุดที่ 2 ผลผลิตรวมระหว่าง 847 - 1954 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 169.4 - 390.8  กรัม/วัสดุเพาะ 4 กก. ค่า % B.E.ระหว่าง 12.29 - 57.44  และชุดที่ 3 ออกดอกให้ผลผลิตรวมระหว่าง 1514 - 2604 กรัม โดยผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 302.8 - 520.8 กรัม/วัสดุเพาะ 4 กก. ค่า % B.E.ระหว่าง 21.06 - 54.03 การนำฟางข้าวและเปลือกข้าวโพดหมักด้วยมูลวัวหรือยูเรียเพาะเห็ดต่งฝนได้และให้ผลผลิตเห็ดสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับการใช้ขี้เลื่อยแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ไฟล์แนบ
.pdf   210_2557.pdf (ขนาด: 313.73 KB / ดาวน์โหลด: 1,099)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม