การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี
#1
การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี
กฤษณ์   ลินวัฒนา, อรทัย วงค์เมธา, จรัญ ดิษฐไชยวงค์, มานพ หาญเทวี, สนอง จรินทร, ช่ออ้อย กาฬภักดี และทวีพงษ์ ณ. น่าน
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน

การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี (การปรับปรุงพันธุ์พืชผักให้เหมาะสมกับฤดูปลูก)
กฤษณ์   ลินวัฒนา, อรทัย วงค์เมธา, จรัญ ดิษฐไชยวงค์, มานพ หาญเทวี, สนอง จรินทร, ช่ออ้อย กาฬภักดี และทวีพงษ์ ณ. น่าน และสุรพล  สุขพันธุ์
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยพืชสวน

          การปรับปรุงพันธุ์พืชผักให้เหมาะสมกับฤดูปลูก โดยการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ กวางตุ้ง ฮ่องเต้ และคะน้าเป็นการศึกษาการผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน ซึ่งเป็นเชื้อพันธุ์ที่ได้รับจาก Asian Vegetable Research and Development Center–The world vegetable center (AVRDC-The world vegetable center) ร่วมกับพันธุ์พืชตระกูลกะหล่ำอื่นที่มีอยู่ในประเทศ ที่ปรับตัวได้ดีแล้ว โดยได้ดำเนินการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ ในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ขณะที่การเปรียบเทียบพันธุ์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ.พิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี จ.ราชบุรี และการผสมพันธุ์ กวางตุ้งที่เป็นผลจากการเปรียบเทียบที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ.น่าน ปี 2555 - 2557 ได้ดำเนินการการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์กวางตุ้งฮ่องเต้ และคะน้าพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน โดยวิธีการคัดเลือกแบบสายพันธุ์แม่เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิด

          ผลการศึกษาพบว่า คะน้าสายพันธุ์ LB 001 ให้ผลผลิตและคุณภาพในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่จะแนะนำให้เป็นพันธุ์ผสมเปิด ขณะที่กวางตุ้งสายพันธุ์ที่นำมาจาก AVRDC ให้คุณภาพในการบริโภคมีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยต่ำ แต่ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ร้านค้า น้ำหนักเมล็ดที่ได้จากต้นคะน้าสายพันธุ์ LB 001 มีปริมาณสูงที่สุด (246 กรัม)  ส่วนการคัดเลือกผักกาดกวางตุ้ง เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ LB 003 (ฮ่องเต้)  LB 006 (ฮ่องเต้)  LB 007 (กวางตุ้ง)  LB 009 (กวางตุ้ง)  LB 010 (กวางตุ้ง) และ LB 012 (กวางตุ้ง + ฮ่องเต้) พบว่าผักกาดกวางตุ้งสายพันธุ์ LB010 และ LB012 มีรูปร่างของต้นทรงแจกัน ก้านใบสีเขียว และไม่แตกหน่อด้านข้าง ให้ผลผลิตดี กากใยต่ำ และมีการติดเมล็ดดี จึงมีความเหมาะสมในการนำมาคัดเลือกเพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อนในรอบการคัดเลือกต่อๆ ไป จากผลการปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า อย่างไรก็ตาม พบว่ามีบางชิดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงในการเปรียบเทียบพันธุ์ นอกฤดูขณะที่พันธ์กวางตุ้งจาก AVRDC ให้คุณภาพการบริโภคดี จึงได้ดำเนินการผสมเกสร และจะได้นำลูกผสมดังกล่าวมาคัดเลือกแบบผสมเปิดเป็นพันธุ์เพื่อเผยแพร่ต่อไป การผลิตเมล็ดพันธุ์คัดกวางตุ้งพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน ด้วยการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์ระหว่างผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า 1, ร้านค้า 2, และผักกาดกวางตุ้งสายพันธุ์ LB 010 และ LB 012 เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน 4 คู่ผสม ได้แก่ คู่ผสม พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 x LB 010 พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 x LB 012 พันธุ์การค้า ร้านค้า 2 x LB 010 และพันธุ์การค้า ร้านค้า 2 x LB 012 พบว่าน้ำหนักเมล็ดที่ได้จากการผสมข้ามระหว่างต้นผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า 2 เป็นต้นแม่กับผักกาดกวางตุ้ง สายพันธุ์ LB 010 มีปริมาณสูงที่สุด (1.3 กรัม/ต้น) มีการติดเมล็ดสูงที่สุด 50% และจะนำไปคัดเลือกพันธุ์ผสมเปิดในระยะที่สองต่อไป

          การเปรียบเทียบพันธุ์ผักกาดกวางตุ้ง ที่นำมาจากแหล่งปลูกที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาผลิตพันธุ์ผสมเปิด โดยการปลูกผักกาดกวางตุ้งพันธุ์การค้า ร้านค้า 1-4 ปลูกเปรียบเทียบกับผักกาดกวางตุ้งพันธุ์น่าน และพันธุ์ที่ได้รับมาจาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้พันธุ์ทนร้อน ได้แก่ กวางตุ้งสายพันธุ์ LB 012  และ LB 01 พบว่าผักกาดกวางตุ้ง พันธุ์การค้า ร้านค้า 1  ร้านค้า 5 และ ร้านค้า 4 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด  พันธุ์การค้า ร้านค้า 5 และ ร้านค้า 4 มีขนาดความยาว - กว้างใบมากที่สุด  พันธุ์การค้า ร้านค้า 3 และ ร้านค้า 5 มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงที่สุด  พันธุ์การค้า ร้านค้า 4 มีผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด ส่วนผักกาดกวางตุ้งพันธุ์ LB 010 มีความหนาก้านใบ และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ  น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเหลืองอมเขียวเข้ม-สีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 142A-143C ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียว ค่าสีอยู่ระหว่าง 138A-137D และปลูกผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า  1-5 เปรียบเทียบกับผักกาดฮ่องเต้จาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้พันธุ์ทนร้อน ได้แก่ สายพันธุ์ LB 003 พบว่าผักกาดฮ่องเต้ พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด  มีขนาดความยาว - กว้างใบมากที่สุด  มีความยาว - ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบมากที่สุด  มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยว  น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความยาว-กว้างใบ  ความยาว - ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ  น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. ของพันธุ์การค้า ร้านค้า 1 ไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าพันธุ์อื่น นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเขียวอ่อน ค่าสีอยู่ระหว่าง 140C - 143D ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 137B-139A การเปรียบเทียบพันธุ์คะน้าในช่วงเหลื่อมฤดูร้อน เพื่อหาคะน้าพันธุ์ที่ทนร้อน พบว่าต้นคะน้าสายพันธุ์ LB 001 มีการเจริญเติบโต ด้านความสูงดีที่สุด และทรงพุ่มในช่วงสัปดาห์แรกมากที่สุด  มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงถึง 96.7%  น้ำหนักต่อต้นสูง  น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูง และ LB 002 มีการเจริญเติบโตด้านความสูง  ทรงพุ่ม  มีขนาดใบกว้าง  เส้นผ่าศูนย์กลางยอดใหญ่  เปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูง 83.3%  น้ำหนักต่อต้นสูงที่สุด  น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าอื่น 


ไฟล์แนบ
.pdf   213_2557.pdf (ขนาด: 1.05 MB / ดาวน์โหลด: 3,646)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม