การขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
#1
การขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
กฤษณ์ ลินวัฒนา, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ทวีพงษ์ ณ น่าน, 
ตราคุรฑ สิลาสุวรรณ, ทัศนีย์ ดวงแย้ม และสนอง จรินทร 
สถาบันวิจัยพืชสวน, สำนักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

          การศึกษาการขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดำเนินการที่โรงเรือนในสวนเฉลิมพระเกียรติ 55 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2555 - 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการทดลอง 3 การทดลอง เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์พืชตระกูลแตงที่ทนทาน/ต้านทานต่อ 1) โรคไส้เดือนฝอยรากปม (การทดลองที่ 1)  2) โรค Fusarium wilt (การทดลองที่ 2) และ 3) ความทนทานต่อน้ำท่วมขัง (การทดลองที่ 3) ทั้ง 3 การททดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ฟักทอง (SAAS) 2) แฟง 3) น้ำเต้า 4) ฟักทอง (น่าน) 5) มะระจีน 6)  มะระขี้นก 1 และ  7)  มะระขี้นก 2  การทดลองที่ 1 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 1 = พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย การทดลองที่ 2 บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 0 = ไม่มีปม; 1 = มีปมเกิดขึ้นเล็กน้อย;  2 = เกิดปมน้อยกว่า 25%; 3 = เกิดปม 25 - 50%; 4 = เกิดปม 50 - 75%; และ 5 = เกิดปมมากกว่า 75%  การทดลองที่ 3 บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค ได้แก่ 1 = พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย  หลังจากได้ผลการศึกษาในโรงเรือนสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นำต้นตอพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ศึกษาในแปลงปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ดีแตงเทศที่เป็นการค้าและมะระจีนเป็นต้นพันธุ์ดีเสียบยอดปลูกศึกษาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ.น่าน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ. เชียงราย วางแผนการทดลองแบบ RCB 14 ซ้ำ 4 กรรมวิธี การบันทึกข้อมูล เช่นเดียวกับการทดลองเพื่อศึกษาระดับทนทาน/ต้านทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณภาพ

          ผลการทดลอง ด้านการศึกษาในโรงเรือนด้านชนิดพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ทั้ง 3 การทดลอง พบว่าฟักทอง ทั้งน่าน และ SAAS มีความต้านทาน/ทนทาน ต่อทั้งโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยดัชนีที่ระดับ ต่ำกว่า 3 หรือเกิดปมที่ราก 25 - 50% สำหรับโรคที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium wilt และทนต่อน้ำท่วมขัง ที่ดัชนีระดับต่ำกว่า 2 หรือ แสดงอาการเหี่ยวของ 1 ใบต่อต้น ซึ่งให้ผลในระดับที่ดี เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอ  สำหรับการศึกษาในแปลงปลูกโดยนำมะระจีน และแคนตาลูปเป็นกิ่งพันธุ์ดีเสียบยอดบนต้นตอดังกล่าว พบว่าการใช้ต้นตอที่ผ่านการคัดเลือกโรคมีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าที่ปลูกโดยไม่มีการใช้ต้นตอ อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายเชื้อรา  Fusarium oxysporum และ  Nematode root gall ลงในกรรมวิธีดำเนินการในระยะที่อายุของพืช 1.5 เดือน อาจมีผลทำให้พืชไม่แสดงอาการของโรคทั้งในทุกๆ กรรมวิธี

การศึกษาพันธ์พืชตระกูลแตงที่ ต้านทาน/ทนทานต่อ โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา ไส้เดือนฝอยรากปม และทนต่อน้ำท่วมขัง
กฤษณ์ ลินวัฒนา, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
สถาบันวิจัยพืชสวน, สำนักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชล 

          การศึกษาการขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดำเนินการที่โรงเรือนในสวนเฉลิมพระเกียรติ 55 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ ตั้งแต่ปี 2555 - 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์พืชตระกูลแตงที่ทนทาน/ต้านทานต่อ 1) โรคไส้เดือนฝอยรากปม 2) โรค Fusarium wilt และความทนทานต่อน้ำท่วมขัง ทั้ง 3 การททดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำประกอบด้วย 9 กรรมวิธี ได้แก่ 1 ฟักทอง (SAAS) 2 แฟง 3 น้ำเต้า 4 ฟักทอง (น่าน) 5 มะระจีน 6  มะระขี้นก1 7  มะระขี้นก2   การทดลองที่ 1 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 1 = พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย การทดลองที่ 2 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรค 0 = ไม่มีปม; 1 = มีปมเกิดขึ้นเล็กน้อย;  2 = เกิดปมน้อยกว่า 25%; 3 = เกิดปม 25 - 50%; 4 = เกิดปม 50 - 75%; และ 5 = เกิดปมมากกว่า 75% การทดลองที่ 3 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ระดับการเกิดโรคได้แก่ 1 = พืชปกติ 2 = ใบเหี่ยว 1 ใบต่อต้น 3 = 1/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 4 = 2/3 ของต้นแสดงอาการเหี่ยว 5 = แสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นหรือต้นตาย  หลังจากได้ผลการศึกษาในโรงเรือนสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นำต้นตอพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ศึกษาในแปลงปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ดีพริกที่เป็นการค้าและมะระจีนเป็นต้นพันธุ์ดีเสียบยอดปลูกศึกษาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ.น่าน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ. เชียงราย วางแผนการทดลองแบบ RCB 14 ซ้ำ 4 กรรมวิธี การเก็บข้อมูล เช่นเดียวกับการทดลองเพื่อศึกษาระดับทนทาน/ต้านทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณภาพ

          ผลการทดลอง ด้านการศึกษาในโรงเรือนด้านชนิดพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ทั้ง 3 การทดลอง พบว่าฟักทอง ทั้งน่าน และ SAAS มีความต้านทาน/ทนทาน ต่อทั้งโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยที่ระดับ และโรคที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium wilt ที่ระดับ และทนต่อน้ำท่วมขังที่ระดับซึ่งให้ผลในระดับที่ดี เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอสำหรับพืชตระกูลแตง  สำหรับการศึกษาในแปลงปลูกโดยนำมะระจีนเป็นกิ่งพันธุ์ดีเสียบยอดบนต้นตอดังกล่าวพบว่า การใช้ต้นตอที่ผ่านการคัดเลือกโรคมีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าที่ปลูกโดยไม่มีการใช้ต้นตอ อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายเชื้อรา Fusarium oxysporum และ Nematode ลงในกรรมวิธีดำเนินการในระยะที่อายุของพืช 1.5 เดือน อาจมีผลทำให้พืชไม่แสดงอาการของโรคทั้งในทุกๆ กรรมวิธี

การศึกษาการผลิตแตงเทศ และ มะเขือเทศ บนต้นตอที่ทนทาน/ต้านทานต่อน้ำท่วมขัง
ทัศนีย์ ดวงแย้ม, สนอง จรินทร และกฤษณ์ ลินวัฒนา
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสถาบันวิจัยพืชสวน

          การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากต้นตอเพื่อทนทานต่อน้ำท่วมขัง ดำเนินการทดลองตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย  ดำเนินการกับต้นตอ 2 ชนิด คือ ต้นตอมะเขือและต้นตอฟักทอง โดยใช้มะเขือเทศ และแตงเทศ เป็นกิ่งพันธุ์ดี ตามลำดับ ในแต่ละชนิดพืชวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 2 กรรมวิธี 14 ซ้ำ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1  น้ำไม่ท่วม  กรรมวิธีที่ 2 น้ำท่วมขัง โดยให้ความชื้นเป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วระบายน้ำออก ผลการทดลองพบว่า  การใช้ต้นตอมะเขือเปอร์เซ็นต์ความเหี่ยวของต้นพืชในกรรมวิธีน้ำท่วมขังมีมากกว่ากรรมวิธีน้ำไม่ท่วม โดยคิดเป็น 61.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเก็บผลผลิตพบว่า การเจริญเติบโตทางด้านความสูง และน้ำหนักของผลผลิตรวมของกรรมวิธีน้ำท่วมขังมีมากกว่ากรรมวิธีน้ำไม่ท่วมแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีความสูงต้นเท่ากับ 118.1 และ 116.3 ซม. ส่วนน้ำหนักผลผลิต เท่ากับ 337.1 และ 281.5 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนการใช้ต้นตอฟักทองต้นพืชมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำเมื่อนำไปปลูกในแปลงทั้ง 2 กรรมวิธี

การศึกษาการผลิตมะเขือเทศ และแตงเทศ บนต้นตอที่ทนทาน/ต้านทานต่อต่อไส้เดือนฝอย
ทัศนีย์ ดวงแย้ม, สนอง จรินทร และกฤษณ์  ลินวัฒนา
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

          การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการผลิตมะเขือเทศ และแตงเทศ และการใช้ประโยชน์จากต้นตอเพื่อทนทานต่อไส้เดือนฝอย ดำเนินการทดลองตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ดำเนินการกับต้นตอ 2 ชนิด คือ ต้นตอมะเขือและต้นตอฟักทองโดยใช้มะเขือเทศ และแตงเทศ เป็นกิ่งพันธุ์ดี ในแต่ละชนิดพืชวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 2 กรรมวิธี 14 ซ้ำ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ไม่ปลูกเชื้อไส้เดือนฝอย กรรมวิธีที่ 2 ปลูกเชื้อไส้เดือนฝอย  ผลการทดลองการเกิดปมที่รากของต้นตอมะเขือ พบว่า ไม่เกิดปมรากที่เกิดจากเชื้อไส้เดือนฝอยทั้งสองกรรมวิธี ส่วนการเจริญเติบโตทางความสูง และน้ำหนักของผลผลิตรวม พบว่า กรรมวิธีไม่ปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยมีมากกว่ากรรมวิธีปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีความสูงต้นเท่ากับ 120  ซม. และน้ำหนักผลผลิตเท่ากับ 421.9 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้ต้นตอฟักทองต้นพืชมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำเมื่อนำไปปลูกในแปลงทั้ง 2 กรรมวิธี

การศึกษาการผลิตมะระจีนบนต้นตอฟักทอง ที่ทนทาน/ต้านทานต่อโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum
ทวีพงษ์  ณ น่าน, ตราคุรฑ  สิลาสุวรรณ และกฤษณ์  ลินวัฒนา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน และสถาบันวิจัยพืชสวน

          การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการผลิตมะระจีน โดยการใช้ประโยชน์จากต้นตอที่ทนทาน/ต้านทานต่อโรคดังกล่าว เพื่อศึกษาความทนทานต่อเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum ดำเนินการทดลองตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน  ดำเนินการโดยใช้ต้นตอฟักทอง วางแผนการทดลองแบบ  Randomized Complete Block (RCB)2 กรรมวิธี 14 ซ้ำ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1  ใช้ต้นตอฟักทองยอดพันธุ์มะระจีนใส่เชื้อ กรรมวิธีที่ 2 ใช้ต้นตอฟักทองยอดพันธุ์มะระจีนไม่ใส่เชื้อ ผลการทดลองพบว่า  การใช้ต้นตอฟักทองยอดพันธุ์มะระจีนใส่เชื้อ  และต้นตอฟักทองยอดพันธุ์มะระจีนไม่ใส่เชื้อ ไม่มีอัตราการเกิดโรคและ พบว่า การเจริญเติบโตทางด้านความสูงไม่แตกต่างกัน น้ำหนักของผลผลิตรวมของกรรมวิธีใช้ต้นตอฟักทองยอดพันธุ์มะระจีนใส่เชื้อ มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีความสูงต้นเท่ากับ 187.28  และ 182.28 ซม. ส่วนน้ำหนักผลผลิต เท่ากับ 1,785.26  และ 1,309.19 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ



ไฟล์แนบ
.pdf   223_2557.pdf (ขนาด: 796.62 KB / ดาวน์โหลด: 3,795)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม