การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีฝรั่งให้ปลอดภัยจากสารพิษในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
#1
การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีฝรั่งให้ปลอดภัยจากสารพิษในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, สุภัค  แสงทวี, ศิริจันทร์  อินทร์น้อย, กุลวดี  ฐานกาญจน์ และรพีพร  ศรีสถิต
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีฝรั่งให้ปลอดภัยจากสารพิษในพื้นที่จังหวัดนครปฐมทำการทดลองในแปลงผักชีฝรั่งของเกษตรกรในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 – กันยายน 2557 พบว่าการผลิตผักชีฝรั่งระหว่างกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีของเกษตรกร พบว่ากรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตรวมเฉลี่ย 3,493 กก./ไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตรวมเฉลี่ย 3,420 กก./ไร่ ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ มีความใกล้เคียงกันทั้งสองกรรมวิธี โดยกรรมวิธีของเกษตรกร มีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 2.26 ส่วนกรรมวิธีทดสอบ มีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 2.59 และจากการสุ่มตัวอย่างผลผลิตเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในผลผลิต พบว่า มีสารพิษตกค้างในกรรมวิธีของเกษตรกร ตรวจพบสาร Cypermethrin และ Chorpyrifos ในปริมาณ 0.01 mg/kg ซึ่งไม่เกินมาตรฐาน ส่วนกรรมวิธีของเกษตรกรที่มักตรวจพบสารเคมีตกค้างซึ่งมีค่าเกินมาตรฐาน เนื่องจากเกษตรมีการใช้สารเคมีในช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพราะมีการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชแต่เกษตรกรต้องการผลิตผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาดเกษตรกรจึงตัดสินใจใช้สารเคมีพ่นในแปลงปลูก ส่วนกรรมวิธีทดสอบมีการสำรวจแมลงก่อนพ่นสารและเว้นระยะการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องเหมาะสมจึงตรวจพบสารเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากการปนเปื้อนจากแปลงข้างเคียงแต่ก็มีปริมาณไม่เกินค่ามาตรฐาน


ไฟล์แนบ
.pdf   226_2557.pdf (ขนาด: 131.26 KB / ดาวน์โหลด: 524)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม