วัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร
#1
วัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, บัณฑิต จิตรจำนงค์, สราวุฒิ ปานทน, อัคคพล เสนำณรงค์, สากล วีริยานันท์, คุรุวรรณ์ ภามาตย์, นิวัต อาระวิล, เทียนชัย เหลาลา, อุทัย ธานี, สมมาตร เอี่ยมอุดม, สมส่วน ทองดีนอก และพีรพงษ์ เชาวนพงษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          กล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกมีการผลิตและส่งออกประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตกล้วยไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันประสบปัญหากาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุปลูกเดิมมีราคาสูงขึ้นมากจากพื้นที่ปลูกและผลผลิตที่ลดลง ซึ่งเกิดจากการระบาดของหนอนหัวดำ ด้วงงวงและแมลงดำหนาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบวัสดุปลูกจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อนำมาเป็นวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนการใช้กาบมะพร้าว นอกจากนั้นในโครงการนี้ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับอัดก้อนวัสดุปลูกทดแทนที่สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาได้ว่า ต้นกระถินและทางปาล์มน้ำมันเป็นวัสดุปลูกทดแทนที่มีความเหมาะสม มีคุณสมบัติทางกายภาพดี ให้ธาตุอาหารสูง ต้นกล้วยไม้มีผลตอบสนองต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกที่ดีไม่แตกต่างจากวัสดุปลูกกาบมะพร้าว เครื่องอัดก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ต้นแบบมีความสามารถในการผลิต 30 ก้อนต่อชั่วโมง ก้อนวัสดุปลูกมีขนาด 22 x 36 x 8 เซนติเมตร สามารถปลูกกล้วยไม้ได้ 4 ต้น และมีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในขณะที่กระบะกาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุปลูกเดิมมีอายุการใช้งานเพียง 3 ปี


ไฟล์แนบ
.pdf   10_2559.pdf (ขนาด: 17.01 MB / ดาวน์โหลด: 1,173)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม