การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละให้มีคุณภาพ
#1
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละให้มีคุณภาพ
สำเริง ช่างประเสริฐ

          งานวิจัยอิทธิพลของจำนวนกระปุกต่อทะลายที่มีผลต่อคุณภาพของสละ ในสละพันธุ์สุมาลี งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มคุณภาพของผลสละ โดยการตัดแต่งและไว้กระปุกผลที่เหมาะสมต่อทะลาย จำนวนการในสวนเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 กรรมวิธี 6 ซ้ำ โดยมีกรรมวิธีการไม่ตัดกระปุก 10 - 12 กระปุกต่อทะลาย กรรมวิธีตัดกระปุกเหลือ 5 กระปุกต่อทะลาย กรรมวิธีตัดกระปุกเหลือ 7 กระปุกต่อทะลาย และตัดกระปุกเหลือ 8 กระปุกต่อทะลาย จากผลการทดลองพบว่า คุณภาพของสละผลอายุ 8 เดือน น้ำหนักแห้ง น้ำหนักผล ความกว้างของผล ความยาวของผล น้ำหนักเนื้อ การตัดกระปุกทุกกรรมวิธีให้ค่าที่สูงกว่าการไม่ตัดแต่งกระปุก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ค่ากรดที่ไตรเตรทได้ (TA) ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนคุณภาพของผลสละตามเมื่อจัดตามชั้นคุณภาพสละของ (มกอช) อยู่ในชั้นที่ 1 และ 2 สำหรับผลผลิตต่อต้นของสละกรรมวิธีที่ไม่ตัดกระปุกมีน้ำหนักโดยรวมมากกว่าทุกกรรมวิธี น้ำหนักผลต่อกระปุกทุกกรรมวิธีให้ค่าที่สูงค่าการไม่ตัดแต่งกระปุก ค่าแรงที่ใช้ในการตัดแต่งกระปุกคิดเป็นเงิน 112.50 – 150 บาท/ไร่/วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   24_2559.pdf (ขนาด: 289.18 KB / ดาวน์โหลด: 2,312)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม