วิจัยและพัฒนาต้นแบบการผลิตพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
#1
วิจัยและพัฒนาต้นแบบการผลิตพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
นิพนธ์ ภาชนะวรรณ, สนั่น อุประวรรณา, กัลยากร โปร่งจันทึก, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, วนิดา โนบรรเทา, วิไลวรรณ เวชยันต์, นาตยา จันทร์ส่อง, อิทธิพล บ้งพรม, รัชดาวัลย์ อัมมินทร์, สุพัตรา รงฤทธิ์, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, จักรพรรดิ วุ้นสีแซง และนวลจันทร์ ศรีสมบัติ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย การจัดการ และพัฒนารูปแบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในระบบการปลูกและการจัดการดิน ปุ๋ยพืชผักและพืชไร่อินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และเพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ และสร้างเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ (Smart farmer) การผลิตพืชอินทรีย์ที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินงานในแปลงเกษตรกรจังหวัดมหาสารคามระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงกันยายน 2560 จากผลการทดลองพบว่า จากผลการสุ่มตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างในพืชและดินในพื้นที่เกษตรกรร่วมทดสอบในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ไม่พบจุลินทรีย์ปนเปื้อน และสารพิษตกค้างในพืชผัก รวมทั้งปริมาณโลหะหนักในปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในแปลงของเกษตรกรทั้งในพื้นที่อำเภอยางสีห์สุราช และอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ด้านองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของการผลิตพืชผักอินทรีย์ที่มีการจัดระบบปลูกที่ต่างกัน พบว่าการปลูกพืชผักอินทรีย์ร่วมกันสองชนิดตามกรรมวิธีที่กำหนด สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่าแต่ไม่แตกต่างกัน และยังได้ผลผลิตของพืชร่วมเป็นการลดความเสี่ยง และให้ผลตอบแทนเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ด้านองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของการผลิตพืชผักอินทรีย์ที่มีการจัดการปุ๋ยอินทรีย์ที่ต่างกัน พบว่าการปลูกพืชผักอินทรีย์และมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ และที่การจัดการปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่าการจัดการปุ๋ยวิธีเกษตรกร และให้ผลตอบแทนเพิ่มรายได้สูงกว่าวิธีเกษตรกร และจากผลการดำเนินงานทดสอบการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับอ้อยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1.16 ตันต่อไร่ เทียบเท่าปุ๋ยเคมีผสมเกรด 18 กก.N-6 กก.P2O 5-กก.K20) ให้ผลผลิตน้ำหนักสดอ้อยและผลผลิตน้ำตาลทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 มากที่สุดโดยให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสดเฉลี่ย 2 ปี คือ 13.24 ตันต่อไร่ มากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 13.14 และให้ผลผลิตน้ำตาลออแกนิคเฉลี่ย 2 ปี คือ 1.70 ตันต่อไร่ มากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 26.47 ในขณะที่อ้อยตอ 1 พบว่าในด้านต้นทุนและผลตอบแทนพบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงตามค่าวิเคราะห์ดินทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ1 ให้รายได้สุทธิต่อไร่เฉลี่ย 2 ปีมากที่สุด (9,030 บาทต่อไร่) มากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 128.31 และเมื่อคิดเป็นอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน (BCR) เฉลี่ย 2 ปี การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงตามค่าวิเคราะห์ดินให้อัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุนมากที่สุด (BCR = 1.63) มากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 27.34 ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดจำนวน 7ครั้ง จำนวน 1,540 คน ด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีเกษตรกรผ่านการตรวจรับรองพืชอินทรีย์มาตรฐาน มกษ. จำนวน 168 ราย พื้นที่รวม 2,846 ไร่ และเข้าร่วมโครงการผลิตอ้อยอินทรีย์กว่า 402 ราย คิดเป็นพื้นที่รวม 3,994 ไร่และในปีการผลิต 2560/61 มีเกษตรกรสนใจและร่วมโครงการอ้อยอินทรีย์รวม 1,600 ราย ขยายพื้นที่อ้อยอินทรีย์ 34,500 ไร่ และมีเป้าความต้องการผลผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยอินทรีย์กว่า 30,000 ตันต่อปี


ไฟล์แนบ
.pdf   41_2560.pdf (ขนาด: 943.51 KB / ดาวน์โหลด: 803)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม