ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
#1
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, สันติ โยธาราษฎร์, มณเทียน แสนดะหมื่น, ณฐนน ฟูแสง, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, นงพงา โอลเสน, นฤนาท ชัยรังษี, สิริพร มะเจี่ยว, เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล, กิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี และว่าที่ร้อยตรีหญิงกัญญารัตน์ สุวรรณ

          โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ ทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงหอมแดงให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดลำพูน และการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการระหว่างปี 2559 – 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

          ในการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงหอมแดงให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดลำพูน เกษตรกรปลูกหอมแดง 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 75 - 90 วัน (หอมแดงฤดูแล้ง) พบการระบาดโรคใบแห้งรุนแรง ระดับ 6 โดยกรรมวิธีทดสอบอยู่ระหว่าง 20.12 -  94.42 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกรอยู่ที่ 21.42 - 94.89 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีความแตกต่างทางด้านสถิติ กรรมวิธีเกษตรกรมีการใช้สารเคมี 19 ชนิด เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช 8 ชนิด สารกำจัดแมลง 11 ชนิด ไม่พบสารพิษตกค้างในแปลงหอมแดงทั้ง 10 ราย ต้นทุนสารเคมีกรรมวิธีทดสอบอยู่ที่ 3,850 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร ที่ 2,129 - 8,857 บาทต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสถิติ ผลผลิตกรรมวิธีทดสอบที่ 0 - 3,800 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางด้านสถิติจากกรรมวิธีเกษตรกรที่ 0 - 3,570 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบมีรายได้สุทธิที่ (-4,325) – 17,344 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรที่ (-8,382) 14,628 บาทต่อไร่ และกรรมวิธีทดสอบมีค่า BCR อยู่ที่ 0.70 1.86 ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.76 1.70 ช่วงที่ 2 เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน (หอมแดงฤดูฝน) พบการระบาดโรคใบแห้ง ระดับ 4 มากที่สุด โดยกรรมวิธีทดสอบอยู่ระหว่าง 7.64 - 11.76 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีเกษตรกรอยู่ที่ 5.93 - 10.95 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างทางด้านสถิติ กรรมวิธีเกษตรกรมีการใช้สารเคมี 15 ชนิดประกอบด้วย สารกำจัดโรคพืช 5 ชนิด สารกำจัดแมลง 10 ชนิด ไม่พบสารพิษตกค้างในแปลงหอมแดงทั้ง 10 ราย ต้นทุนสารเคมีกรรมวิธีทดสอบอยู่ที่ 1,428 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร ที่ 1,150 - 2,640 บาทต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสถิติ ผลผลิตกรรมวิธีทดสอบ ที่ 1,926 - 2,400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างทางด้านสถิติจากกรรมวิธีเกษตรกรที่ 1,934 2,450 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบมีรายได้สุทธิที่ 6,598 – 11,992 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรที่ (-6,635) 10,130 บาทต่อไร่ และกรรมวิธีทดสอบมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.73 1.60 ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.74 1.48

          การทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยทดสอบเทคโนโลยีในแปลงเกษตรกรจำนวน 10 ราย พบว่าวิธีการทดสอบมีผลจำนวนครั้งการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีเฉลี่ย 2.2 ครั้ง/ฤดูปลูก ส่วนวิธีการเกษตรกรมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด 4 ครั้งต่อฤดูปลูก ซึ่งพบว่ากรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,460 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,500 กิโลกรัมต่อไร่ โดยทั้งสองกรรมวิธีตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต วิธีการของเกษตรกรสามารถให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 49,500 บาท สูงกว่าวิธีการทดสอบมีรายได้เฉลี่ย 49,140 บาท โดยวิธีการของเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 9,913 บาทต่อไร่ ขณะที่วิธีการทดสอบมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 7,880 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) พบว่าวิธีการทดสอบมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่า 6.35 วิธีการเกษตรกรมีอัตราผลตอบแทน 4.99


ไฟล์แนบ
.pdf   47_2560.pdf (ขนาด: 1.03 MB / ดาวน์โหลด: 704)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม