ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักสดในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
#1
ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักสดในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
เครือวัลย์ บุญเงิน, นงลักษ์ ปั้นลาย, สุภาพร สุขโต, สุภัค กาญจนเกษร, ฉัตรชีวิน ดาวใหญ่, อรัญญา ภู่วิไล, วัชรา สุวรรณ์อาศน์, มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์,
สมบัติ บวรพรเมธี, ศรีอุดร เพชรเวียง, เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, พรชัย มาสริ, จันทนา ใจจิตร, สันติ พรหมคำ, สงัด ดวงแก้ว, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย และปัญญา พุกสุ่น
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักสดในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตข้าวโพดฝักสด ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ดำเนินการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดฝักอ่อน ในแปลงเกษตรกร จังหวัดสระบุรี อุทัยธานี อ่างทอง และนครปฐม เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว จำนวน 40 รายๆ ละ 2 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน จำนวน 10 รายๆ ละ 1 ไร่ ระหว่างตุลาคม 2558 – กันยายน 2560 ดำเนินการ 2 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีเกษตรกร ปฏิบัติตามที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ และกรรมวิธีทดสอบ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการดำเนินงานพบว่า ในปี 2559 การผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครปฐม กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,802 และ 2,634 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 24,480 และ 13,145.9 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,507 และ 2,445 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 21,102 และ 8,804.9 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 11.76 และ 7.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 16.00 และ 33.02 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวในจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดอ่างทอง กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,576 และ 1,701 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 12,417 และ 13,281 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,482 และ 1,579 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 11,489 และ 11,670 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 3.7 และ 7.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 8.07 และ 12.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในจังหวัดนครปฐม กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,570 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 12,733 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,473 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 9,840 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 6.17เปอร์เซ็นต์ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 22.72 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 การผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครปฐม กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,948 และ 2,952 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 25,823 และ 15,124 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 9.10 และ 10.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 13.79 และ 35.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การผลิตข้าวโพดข้าวเหนียว ในจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดอ่างทอง กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,576 และ 1,817 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 12,417 และ 13,201 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,471 และ 1,735 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 11,763 และ 11,814 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 3.7 และ 4.51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 8.07 และ 10.51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ในจังหวัดนครปฐม กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,738 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 14,096.3 บาทต่อไร่ กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,405 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 9,381.6 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 19.15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 33.45 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   56_2560.pdf (ขนาด: 927.87 KB / ดาวน์โหลด: 736)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม