วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มมูลค่ากล้วยหินในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มมูลค่ากล้วยหินในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
จิตรานุช เรืองกิจ

          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มมูลค่ากล้วยหินในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์กล้วยหิน โดยศึกษาการเจริญเติบโตและลักษณะประจาสายต้น เพื่อให้ได้พันธุ์กล้วยหินที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยหิน โดยศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสม รวมถึงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยหิน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - กันยายน 2561

          การศึกษาและคัดเลือกสายต้นกล้วยหิน จำนวน 10 สายต้น จากแหล่งปลูกจังหวัดยะลา 8 สายต้น ได้แก่ ธารโต 1, ธารโต 2, ถ้าทะลุ 1, ถ้าทะลุ 2, บาเจาะ 1, บาเจาะ 2, บันนังสตา 1 และบันนังสตา 2 จากแหล่งปลูกจังหวัดปัตตานี 1 สายต้น คือ มะกรูด และจากแหล่งปลูกจังหวัดสงขลา 1 สายต้น คือ ควนลัง โดยเริ่มปลูกหน่อกล้วยหินอายุ 3 - 4 เดือน ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2561 กล้วยหินจะเริ่มฟื้นตัวและเจริญเติบโตต่อเนื่องหลังจากปลูกแล้วต้องใช้ระยะเวลาหลาย จึงทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นช้ากว่าปกติ และกล้วยหินยังไม่ให้ผลผลิต โดยทั่วไปกล้วยหินจะออกปลี เมื่ออายุ 8 เดือน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังออกปลีแล้วประมาณ 4 เดือน ดำเนินการเก็บข้อมูล การเจริญเติบโตทุก 3 เดือนหลังปลูก การเจริญเติบโตด้านลำต้นหลังปลูก 12 เดือน พบว่าธารโต 1 มีความสูงต้นเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ บาเจาะ 1 และควนลัง เท่ากับ 143.94, 139.83 และ 135.67 เซนติเมตร ตามลำดับ เช่นเดียวกับเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยกล้วยหินสายต้นธารโต 1 มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ บาเจาะ 1 และควนลัง เท่ากับ 42.22, 41.00 และ 37.42 เซนติเมตร ส่วนความกว้างทรงพุ่ม ธารโต 1 มีความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ มะกรูด และบาเจาะ 1 เท่ากับ 294.83, 268.18 และ 268.00 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทำงสถิติที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 การเกิดหน่อใหม่หลังปลูก 12 เดือน พบว่ากล้วยหินทุกสายต้นมีการเกิดหน่อใหม่ จำนวน 0 - 0.86 หน่อ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทำงสถิติที่ระดับนัยสาคัญ 0.05


          ศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมในการผลิตกล้วยหิน เพื่อให้ทราบระยะปลูกที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตกล้วยหิน และนาผลการศึกษามาปรับใช้ในแปลงของเกษตรกร โดยใช้ระยะปลูก 4 ระยะ ดังนี้ ระยะ 3x3 เมตร, 3x4 เมตร, 4x4 เมตร และ 4x6 เมตร โดยเริ่มปลูกหน่อกล้วยหินอายุ 3-4 เดือน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 กล้วยหินจะเริ่มฟื้นตัวและเจริญเติบโตต่อเนื่องหลังจากปลูกแล้วต้องใช้ระยะเวลาหลาย จึงทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นช้ากว่าปกติ และกล้วยหินยังไม่ให้ผลผลิต โดยทั่วไปกล้วยหินจะออกปลีเมื่ออายุ 8 เดือน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังออกปลีแล้วประมาณ 4 เดือน ดำเนินการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตทุก 3 เดือนหลังปลูก และเมื่อเก็บข้อมูลในเดือนที่ 12 หลังปลูก พบว่า กล้วยหินที่ใช้ระยะปลูก 4x6, 3x4, 4x4 และ 3x3 เมตร มีความสูงต้นเฉลี่ย เท่ากับ 126.53, 118.06, 116.23 และ 111.10 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อใช้ระยะปลูก 4x6 มตร ทำให้เส้นรอบวงเฉลี่ยม เท่ากับ 35.88 เซนติเมตร รองลงมา คือ ระยะปลูก 3x3, 3x4 และ 4x4 เมตร มีเส้นรอบวงเฉลี่ย 33.88, 32.24 และ 31.91 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนความกว้างทรงพุ่ม การใช้ระยะปลูก 4x6 เมตร ทำให้ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยม รองลงมา คือ ระยะปลูก 3x3, 4x4 และ 3x4 เมตร มีความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย เท่ากับ 261.68, 231.66, 231.66 และ 226.74 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทำงสถิติที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 จำนวนการเกิดหน่อใหม่หลังปลูก 12 เดือน พบว่า ระยะปลูก 3x3 เมตร มีการเกิดหน่อใหม่มากที่สุด 1.87 หน่อ รองลงมา คือ ระยะปลูก 3x4, 4x4 และ 4x6 เมตร มีการเกิดหน่อ 1.23, 1.14 และ 0.92 หน่อ ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างทำงสถิติที่ระดับนัยสาคัญ 0.05

          การขยายพันธุ์กล้วยหิน (Musa sapientum Linn.) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการขยายพันธุ์กล้วยหินด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสม วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จำนวน 10 ซ้ำ 5 สูตรอาหาร ได้แก่ สูตรที่ 1 (MS+น้ำตาล 30 กรัม/ลิตร + BA 2 มก./ลิตร) สูตรที่ 2 (MS+น้ำตาล 30 กรัม/ลิตร+BA 2 มก./ลิตร+น้ำมะพร้าว 150 มล./ลิตร) สูตรที่ 3 (MS+น้ำตาล 30 กรัม/ลิตร+BA 5 มก./ลิตร) สูตรที่ 4 (MS+น้ำตาล 30 กรัม/ลิตร+BA 5 มก./ลิตร+น้ำมะพร้าว 150 มล./ลิตร) และสูตรที่ 5 (MS+น้ำตาล 30 กรัม/ลิตร+น้ำมะพร้าว 450 มล./ลิตร) ผลการทดลองพบว่า สูตรที่ 4 ให้จำนวนยอดสูงที่สุดคือ 3 - 5 ยอด รองลงมาคือ สูตรที่ 3 ที่ให้จำนวนยอด 3 - 4 ยอด และสูตรที่ 2 ให้จำนวนยอด 2 - 3 ยอด ส่วนสูตรที่ 1 และ 5 ให้จำนวนยอดต่าที่สุดคือ 1 - 2 ยอด


ไฟล์แนบ
.pdf   15_2561.pdf (ขนาด: 767.98 KB / ดาวน์โหลด: 885)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม