ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
#1
การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
เพทาย กาญจนเกษร

          การศึกษาระยะการปลูกที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย เพื่อศึกษาระยะปลูกที่มีความเหมาะสมในการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี 6 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 10 x 15 เซนติเมตร (106,666 ต้น/ไร่) กรรมวิธีที่ 2 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 15 x 15 เซนติเมตร (71,111 ต้น/ไร่) กรรมวิธีที 3 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 20 x 15 เซนติเมตร (53,333 ต้น/ไร่) และกรรมวิธีที 4 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 25 x 15 เซนติเมตร (42,666 ต้น/ไร่) เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อกระชายอายุ 180 วันหลังปลูกจากการศึกษาพบว่าต้นกระชายที่ปลูกด้วยระยะปลูกที่แตกต่างกันส่งผลให้กระชายมีการเจริญเติบโตและผลผลิตแตกต่างกัน โดยการปลูกกระชายที่ระยะชิด10 x 15 เซนติเมตร (106,666 ต้น/ไร่) มีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ส่วนการปลูกที่ระยะคือ 25 x 15 เซนติเมตร (42,666 ต้น/ไร่) ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีแต่มีผลผลิตต่อไร่น้อยที่สุด

          การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย เพื่อศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีความเหมาะสมในการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2561 แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ปีที่ 1 วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในเหง้าและรากกระชายที่ระยะเก็บเกี่ยว โดยสุ่มเก็บตัวอย่างรากและเหง้ากระชายในระยะเก็บเกี่ยวจากแปลงของเกษตรกร จำนวน 3 แปลง ชั่งน้ำหนักสด นำไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร N P K Ca Mg Fe Mn Cu Zn และ B ในแต่ละส่วน บันทึกผลผลิตต่อพื้นที่ คำนวณปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต ขั้นตอนที่ 2 ปีที่ 2 นำผลวิเคราะห์มาคำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้กระชายในแปลงทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ กรรมวิธี คือ การจัดการปุ๋ยดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตราเท่ากับความต้องการธาตุอาหาร กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 25 % กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 50 % และกรรมวิธีที่ 4 ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี จากการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยในกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 50 % ต้นกระชายมีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตและผลผลิตมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ส่วนการใช้ปุ๋ยในกรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตราเท่ากับความต้องการธาตุอาหารมีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างจากกรรมวิธีที่ 3 ในการผลิตกระชาย

          การทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคเหง้าเน่าในกระชาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการควบคุมโรคเหง้าเน่าของกระชายพื้นที่จังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินการทดสอบโดยวางแผน การทดลองแบบ RCB 4 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ปรับสภาพดินโดยผสมปุ๋ยยูเรียและปูนขาวในอัตราส่วน 1:10 กรรมวิธีที่ 2 แช่เหง้าพันธุ์กระชายในชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ความเข้มข้น 108-109 cfu/ml นาน 1 ชั่วโมง กรรมวิธีที่ 3 แช่เหง้าพันธุ์กระชายในชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ความเข้มข้น 108-109 cfu/ml นาน 1 ชั่วโมงร่วมกับการปรับสภาพดินโดยผสมปุ๋ยยูเรีย และปูนขาวในอัตราส่วน 1:10 กรรมวิธีที่ 4 ปลูกกระชายเช่นเดียวกับการปฏิบัติของเกษตรกรโดยไม่มีการจัดการเหง้าพันธุ์ และปรับสภาพดิน โดยเริ่มดำเนินการเดือนตุลาคม 2559 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2561 รวมระยะเวลา 2 ปี ทำการทดสอบในแปลงเกษตรกร ตำบลห้วยหมอนทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแปลงปลูกกระชายของเกษตรกรที่มีประวัติการระบาดของโรคเหง้าเน่าในฤดูการผลิตที่ผ่านมา จากการเก็บตัวอย่างกระชายและดินปลูกวินิจฉัยพบแบคทีเรีย Ralstonia sp ปี2560 ปริมาณเชื้อเริ่มต้นจนถึงในเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่า ในกรรมวิธีที่มีการจัดการดินโดยผสมปุ๋ยยูเรียและปูนขาวในกรรมวิธีที่ 1 จำนวน 8.06 x 10(5) CFU/g และกรรมวิธีที่ 3 จำนวน 4.73 x 10(5) CFU/g มีปริมาณเชื้อแบคทีเรียต่ำกว่าในกรรมวิธีที่ ไม่มีการจัดการดินในกรรมวิธีที่ 2 จำนวน 1.31 x 10(6) CFU/g และ กรรมวิธีที่ 4 จำนวน 1.21 x 10(6) CFU/g เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคสูงสุดในกรรมวิธีที่ 4 คือ 37 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักผลผลิตต่อไร่ทั้ง 4 กรรมวิธี ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ปี 2561 ดินปลูกเมื่อเปรียบเทียบปริมาณเชื้อเริ่มต้นจนถึงในเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่า กรรมวิธีที่มีการจัดการดินโดยกรรมวิธีที่ 1 จำนวน 2.57 x 10(4) CFU/g กรรมวิธีที่ 2 จำนวน 3.14 x 10(4) CFU/g กรรมวิธีที่ 3 จำนวน 1.53 x 10(4) CFU/g และกรรมวิธีที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่มีการจัดการใดๆในแปลงปลูก จำนวนเชื้อ 2.76 x 10(5) CFU/g จะเห็นได้ว่าการจัดการดินด้วยปุ๋ยยูเรีย:ปูนขาว สามารถลดปริมาณเชื้อในดิน Ralstonia sp. ลงได้
การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย
เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, สุภัค กาญจนเกษร และศิริจันทร์ อินทร์น้อย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม

          การศึกษาระยะการปลูกที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย เพื่อศึกษาระยะปลูกที่มีความเหมาะสมในการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี 6 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 10 x 15 เซนติเมตร (106,666 ต้น/ไร่) กรรมวิธีที่ 2 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 15 x 15 เซนติเมตร (71,111 ต้น/ไร่) กรรมวิธีที 3 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 20 x 15 เซนติเมตร (53,333 ต้น/ไร่) และกรรมวิธีที 4 ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว คือ 25 x 15 เซนติเมตร (42,666 ต้น/ไร่) เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อกระชายอายุ 180 วันหลังปลูกจากการศึกษาพบว่าต้นกระชายที่ปลูกด้วยระยะปลูกที่แตกต่างกันส่งผลให้กระชายมีการเจริญเติบโตและผลผลิตแตกต่างกัน โดยการปลูกกระชายที่ระยะชิด 10 x 15 เซนติเมตร (106,666 ต้น/ไร่) มีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ส่วนการปลูกที่ระยะคือ 25 x 15 เซนติเมตร (42,666 ต้น/ไร่) ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีแต่มีผลผลิตต่อไร่น้อยที่สุด

การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย
สุภัค กาญจนเกษร, เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด และศิริจันทร์ อินทร์น้อย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม

          การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตกระชาย เพื่อศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีความเหมาะสมในการผลิตกระชายในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2561 แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ปีที่ 1 วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในเหง้าและรากกระชายที่ระยะเก็บเกี่ยว โดยสุ่มเก็บตัวอย่างรากและเหง้ากระชายในระยะเก็บเกี่ยวจากแปลงของเกษตรกร จำนวน 3 แปลง ชั่งน้ำหนักสด นำไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร N P K Ca Mg Fe Mn Cu Zn และ B ในแต่ละส่วน บันทึกผลผลิตต่อพื้นที่ คำนวณปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต ขั้นตอนที่ 2 ปีที่ 2 นำผลวิเคราะห์มาคำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้กระชายในแปลงทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ กรรมวิธี คือการจัดการปุ๋ยดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตราเท่ากับความต้องการธาตุอาหาร กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 25 % กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 50 % และกรรมวิธีที่ 4 ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี จากการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยในกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตรามากกว่าความต้องการ 50 % ต้นกระชายมีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตและผลผลิตมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ส่วนการใช้ปุ๋ยในกรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนของธาตุอาหาร N : P2O5 : K2O ในอัตราเท่ากับความต้องการธาตุอาหารมีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างจากกรรมวิธีที่ 3 ในการผลิตกระชาย


ไฟล์แนบ
.pdf   17_2561.pdf (ขนาด: 4.56 MB / ดาวน์โหลด: 1,869)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม