ทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่างระยะที่2
#1
โครงการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง (ระยะที่ 2 )
สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม, อารีรัตน์ พระเพชร, เอกพล มนเดช, อรณิชา สุวรรณโฉม, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน และสุรกิตติ ศรีกุล

          การทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในสภาพพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย ดำเนินการปี 2560 - 2561 พื้นที่ 60 ไร่ วางแผนการทดสอบแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธีๆ ละ 20 ต้น ประกอบด้วย พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค จากผลการทดสอบพบว่า พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 มีการเจริญเติบโตทางด้านความกว้างทรงพุ่ม ความสูง และจำนวนทางใบ มากที่สุด 424 เซนติเมตร 348 เซนติเมตร และ 47 ทางใบ ตามลำดับ รองลงมาเป็นพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ความกว้างทรงพุ่ม 411 เซนติเมตร 339 เซนติเมตร และ 46 ทางใบ พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 ความกว้างทรงพุ่ม 403 เซนติเมตร 337 เซนติเมตร และ 44 ทางใบ และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค ความกว้างทรงพุ่ม 391 เซนติเมตร 309 เซนติเมตร และ 42 ทางใบตามลำดับ (ตารางที่ 7)

          ด้านผลผลิตพบว่า พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 มีจำนวนทะลายต่อต้น น้ำหนักต่อทะลาย และผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด เท่ากับ 3.8 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 4.2 กิโลกรัม ผลผลิต 5337 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นพันธุ์พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 3.5 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.8 กิโลกรัม ผลผลิต 4572 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี พันธุ์พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 3.4 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.6 กิโลกรัม ผลผลิต 4095 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค 3.2 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.1 กิโลกรัม ผลผลิต 3562 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ (ตารางที่ 11) การเจริญเติบโตทางด้านความสูงและทรงพุ่มไม่มีความแตกต่างกันทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุเนื่องมาจากเมื่อปี 2558 และ 2559 ได้เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุ่นแรงส่งผลกระทบต่อเจริญเติบโตของต้นปาล์มเป็นอย่างมากทำให้พืชไม่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยดังนั้นการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันจึงไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับการทดสอบปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร ปี 2560 - 2561 วิธีแนะนำ มีการเจริญเติบโตมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยมีจำนวนทางใบ 59 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 672 เซนติเมตร วิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 660 เซนติเมตร (ตารางที่ 12) ข้อมูลผลผลิต วิธีแนะนำมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยมีจำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวต่อต้น 1.6 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 14.7 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 9,797 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี วิธีเกษตรกร จำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวต่อต้น เท่ากับ 1.5 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 12.6 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 7,888 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในส่วนของปริมาณน้ำฝนปี 2558 - 2559 เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

การทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในสภาพพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม, อารีรัตน์ พระเพชร, เอกพล มนเดช, อรณิชา สุวรรณโฉม, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน และสุรกิตติ ศรีกุล
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          การทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในสภาพพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย ดำเนินการปี 2560 - 2561 พื้นที่ 60 ไร่ วางแผนการทดสอบแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธีๆ ละ 20 ต้น ประกอบด้วย พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค จากผลการทดสอบพบว่า พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 มีการเจริญเติบโตทางด้านความกว้างทรงพุ่ม ความสูง และจำนวนทางใบ มากที่สุด 424 เซนติเมตร 348 เซนติเมตร และ 47 ทางใบตามลำดับ รองลงมาเป็นพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ความกว้างทรงพุ่ม 411 เซนติเมตร 339 เซนติเมตร และ 46 ทางใบ พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 ความกว้างทรงพุ่ม 403 เซนติเมตร 337 เซนติเมตร และ 44 ทางใบ และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค ความกว้างทรงพุ่ม 391 เซนติเมตร 309 เซนติเมตร และ 42 ทางใบตามลำดับ (ตารางที่ 7)

        ด้านผลผลิตพบว่า พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 มีจำนวนทะลายต่อต้น น้ำหนักต่อทะลาย และผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด เท่ากับ 3.8 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 4.2 กิโลกรัม ผลผลิต 5337 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นพันธุ์พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 3.5 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.8 กิโลกรัม ผลผลิต 4572 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี พันธุ์พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 3.4 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.6 กิโลกรัม ผลผลิต 4095 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และพันธุ์ซีหราด/คอมแพ็ค 3.2 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 3.1 กิโลกรัม ผลผลิต 3562 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ (ตารางที่ 11) การเจริญเติบโตทางด้านความสูงและทรงพุ่มไม่มีความแตกต่างกันทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุเนื่องมาจากเมื่อปี 2558 และ 2559 ได้เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุ่นแรงส่งผลกระทบต่อเจริญเติบโตของต้นปาล์มเป็นอย่างมากทำให้พืชไม่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยดังนั้นการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันจึงไม่ดีเท่าที่ควร

การทดสอบปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมัน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง
สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม, อารีรัตน์ พระเพชร, พนิต หมวกเพชร, กฤชพร ศรีสังข์, อรณิชา สุวรรณโฉม, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, ณรงค์ แดงเปี่ยม และสุรกิตติ ศรีกุล

          การทดสอบปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉพาะพื้นที่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันและลดต้นทุนการผลิต โดยได้ดำเนินการระหว่างตุลาคมปี 2557 - กันยายน 2559 พื้นที่ 75 ไร่ มี 2 กรรมวิธี ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 วิธีแนะนำ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 2 วิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร 1. วิธีแนะนำ พบว่าการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นก่อนการใส่ปุ๋ยมีจำนวนทางใบเท่ากับ 40 ทางใบต่อต้น มีความกว้างทรงพุ่มเท่ากับ 585 เซนติเมตร มีความยาวทางใบ เท่ากับ 290 เซนติเมตร(ตารางที่ 13) ส่วนวิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบเท่ากับ 40 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 586 เซนติเมตร ความยาวทางใบ 298 เซนติเมตร (ตารางที่ 14) หลังการใส่ปุ๋ยพบว่าวิธีแนะนำมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 636 เซนติเมตร ความยาวทางใบ 314 เซนติเมตร (ตารางที่ 21) ส่วนวิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 638 เซนติเมตร มีความยาวทางใบ 314 เซนติเมตร (ตารางที่ 22) ข้อมูลผลผลิต วิธีแนะนำ จำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวต่อต้น 1.5 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 6.3 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 415.8 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีเกษตรกรจำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวต่อต้น เท่ากับ 1.3 ทะลาย น้ำหนักต่อทะลาย 5.9 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 337.4 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 25) สำหรับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินการให้ธาตุอาหารเสริมได้แก่โบรอนและกรีเซอร์ไรด์เป็นวิธีปฏิบัติโดยการนำแม่ปุ๋ยมาผสมใส่เองแทนการใช้ปุ๋ยสูตรทั่วไปหลังจากใส่ปุ๋ยผ่านไปแล้วประมาณ 6 เดือน ทำการวัดการเจริญเติบโตและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตสำหรับแปลงที่เริ่มเก็บผลผลิตได้พบว่าทั้งสองกรรมวิธีทั้งด้านการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่ค่อยแตกต่างกันทั้งนี้อาจมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากว่าช่วงปี 2558 - 2559 ได้เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ต้นปาล์มหยุดชะงักการเจริญเติบโต ทางใบแห้งตายเป็นจำนวนมากทะลายช่อดอกมักเป็นตัวผู้เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้ยังพบว่าผลและทะลายของปาล์มน้ำมันบ้างต้นแห้งและฝ่อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร


ไฟล์แนบ
.pdf   18_2561.pdf (ขนาด: 4.28 MB / ดาวน์โหลด: 500)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม