การผลิตทุเรียนคุณภาพยุคใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการผลิตอย่างยั่งยืน
#1
การผลิตทุเรียนคุณภาพยุคใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการผลิตอย่างยั่งยืน
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, พฤกษ์ คงสวัสดิ์, สมพงษ์ สุขเขตต์, นิตยา คงสวัสดิ์, ปราณี เถาว์โท, ประจันทร์ พวงพลอย และคามี ศรประสิทธิ์

          โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพสูง มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น มุ่งรักษาคุณภาพทุเรียนตามข้อกำหนดของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยที่ต้นทุนไม่เพิ่มขึ้น ดำเนินการที่อาเภอกันทรลักษ์ อาเภอขุนหาญ และอาเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2562 เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกรมวิชาการเกษตร สู่เกษตรกรโดยตรงอย่างต่อเนื่องครบห่วงโซ่มูลค่า กล่าวคือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพ ดำเนินการแบบบูรณาการ (แบบประชารัฐ คือ รัฐ เอกชน และเกษตรกร) กับหน่วยงานราชการในจังหวัด (12 หน่วยงาน) และต่างจังหวัด (2 หน่วยงาน) หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีศรีสะเกษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด สหกรณ์การเกษตรกันทรลักษ์ จำกัด และกลุ่มเกษตรกร โดยมีกิจกรรมหลักคือ การสร้างความเข้าใจในหลักวิชาการเกษตร ให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เน้นให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ โดยฝึกอบรมตามพัฒนาการของทุเรียน กิจกรรมการออกติดตามให้คำแนะนำ ปรึกษา ถึงแปลงเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์ กิจกรรมการสร้างแปลงต้นแบบ 9 แปลง กระจายในพื้นที่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเกษตรกรเป็นวิทยากรบรรยายในสภาพปฏิบัติจริง กิจกรรมแจ้งเตือนเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับทุเรียน เช่น การระบาดของโรค-แมลง กิจกรรมการศึกษาดูงานจากเกษตรกรที่ประสบผลสาเร็จในอาชีพเพื่อสร้างแรงจูงใจและนาเทคนิคใหม่ๆ กลับมาใช้ กิจกรรมสร้างสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร วีดีทัศน์ โปสเตอร์ กิจกรรมจัดทำ QR–code ประจาสวนเพื่อตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตที่ปลายทางได้ กิจกรรมทาการตลาดทั้งตลาดท้องถิ่นและตลาดออนไลน์ รวมถึงการจัดระบบการซื้อขายทุเรียนออนไลน์ กิจกรรมสร้างพันธุ์ทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ และกิจกรรมการป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุกกิจกรรมมีส่วนช่วยผลักดันให้ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงกว้างไกล มีความมั่นคง และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ดังที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้มอบรางวัลให้กับศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ถึง 2 ครั้ง คือ ปี 2558 รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประเภทรางวัล บูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น เรื่อง “การจัดการความรู้สู่ทุเรียนคุณภาพชั้นเลิศ 4 ไร่ล้าน” และปี 2561 รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง เรื่อง “การจัดการความรู้สู่ทุเรียนคุณภาพชั้นเลิศ 4 ไร่ล้าน” นอกจากนี้ในปี 2561 จังหวัดศรีสะเกษได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้ผลงานโครงการทุเรียนฯนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอ

          ผลจากการดำเนินงานตามขั้นตอนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปี ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจของจังหวัด คือ ปี 2561 เกษตรกรมีรายได้จากการขายทุเรียนมากว่า 1,000 ล้านบาท ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวและโรงแรม มีเงินหมุนเวียนสะพัดอย่างมากจากการมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสวนทุเรียน และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านเกษตร ในช่วงเวลาดังกล่าวจังหวัดศรีสะเกษได้จัดงานเทศกาลทุเรียนเป็นประจำทุกปี


ไฟล์แนบ
.pdf   85_2561.pdf (ขนาด: 2.02 MB / ดาวน์โหลด: 3,199)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม